ETDA Thailand ได้ทำการสํารวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2561 (ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562) จากหลากหลายเพศ และหลายเจนเนอเรชั่น ซึ่งพบการใช้งานอินเตอร์เน็ตที่น่าสนใจสำหรับเหล่านักการตลาดที่ต้องการเข้าใจพฤติกรรมของชาวโซเชียลให้มากยิ่งขึ้น
Social Media ยอดนิยม
พบว่า YouTube, Line และFacebook ยังคงเป็นสื่อสังคมออนไลน์ยอดนิยมที่ครองใจคนไทยในยุคนี้ และมีผู้ใช้งานนำเป็น 3 อันดับแรก โดยมีสัดส่วนผู้ตอบที่ใกล้เคียงกัน
- YouTube (ร้อยละ 98.8)
- LINE (ร้อยละ 98.6)
- Facebook (ร้อยละ 96.0)
- Facebook Messenger (ร้อยละ 88.4)
- Instagram (ร้อยละ 67.2)
- Pantip ซึ่งเป็น ชุมชนออนไลน์หนึ่งเดียวของไทย (ร้อยละ 64.2)
- Twitter (ร้อยละ 43.0)
- WhatsApp (ร้อยละ 10.6)
จำนวนการใช้งานอินเทอร์เน็ตต่อวัน
ในปีน้ีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากกว่าปีที่ผ่านมาถึง 3 ชั่วโมง 30 นาทีต่อวัน และในปี 2561 ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมีการใช้งานอินเตอร์เน็ตในช่วงวันทํางาน/วันเรียนหนังสือ 3 ชั่วโมง 18 นาทีต่อวัน และใช้งานอินเทอร์เน็ตในช่วงวันหยุดผ่านมําเท่ากับ 4 ชั่วโมง 6 นาทีต่อวัน
ภาพรวมของกิจกรรมท่ีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกรุงเทพเป็นเมืองหลวงที่ใช้ Facebook มากเป็นอันดับ 1 ของโลกใช้เวลาในการเข้าถึงมากท่ีสุด อันดับแรก คือ การใช้สื่อสังคมออนไลน์ รองลงมา คือ การดูโทรทัศน์ ดูคลิปวิดีโอ ดูภาพยนตร์ ฟังเพลงออนไลน์
กิจกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต
ผลสํารวจพบว่า 5 อันดับยอดนิยมของกิจกรรมกํารใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต ในปีนี้เหมือนกันกับปีที่ผ่านมา นั่นคือการใช้สื่อสังคมออนไลน์ การรับ-ส่ง อีเมล การค้นหาข้อมูล การดูโทรทัศน์/ดูคลิปวิดีโอ/ฟังเพลง และการซื้อสินค้า บริการ ทางออนไลน์
ความต่างของแต่ละเจนเนอเรชั่น
แต่ละช่วงวัยก็มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่แตกต่างกันออกไปทั้งเวลาที่ใช้ในกิจกรรมต่างๆ และปัญหาที่พบเจอในการใช้งานอินเทอร์เน็ตก็แตกต่างกันออกไปด้วย
Baby Boomer
ยุคเริ่มต้นก่อนที่เทคโนโลยีจะเฟื่องฟู
Gen X
ช่วงเจนเนอเรชั่นที่กำลังเริ่มปรับตัวเข้าสู่เทคโนโลยี
Gen Y
โตมาพร้อมกับคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และเรื่องราวเกี่ยวกับไอที
Gen Z
ชาชินกับการใช้เทคโนโลยีมากกว่าเจนเนอเรชั่นอื่นๆ
ความน่าแปลกใจจากผลสำรวจคือ Gen Y กลับมีสัดส่วนของการใช้ Social Media ที่มากกว่า Gen Z ซึ่งเป็นเจนเนอเรชั่นล่าสุดของปัจจุบัน
จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์เพิ่มขึ้น
ในปี 2554 มีจํานวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพียง 77.5 ล้านเลขหมาย ในปี 2561 มีการคาดการณ์ว่า ตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 124.8 ล้านเลขหมาย หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตกว่าร้อยละ 60
เมื่อนําเอาจํานวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ปี 2561 มาเทียบ กับจํานวนประชากร ปี 2561 ซึ่งมีจํานวนท้ังส้ิน 66,294,064 คน เพื่อดูอัตราส่วนจํานวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อประชากรรวม (Mobile Penetration Rate) ก็พบว่าอัตราส่วนดังกล่าวอยู่ที่ 188.25 ซึ่งหมายความว่าประชากร 1 คน จะครอบครองเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่มากกว่า 1 เลขหมาย
เรียกได้ว่ามีการเติบโตของการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง และพฤติกรรมการใช้งานของแต่ละช่วงวัยก็ต่างกันไป ดังนั้นการทำแคมเปญทางการตลาดให้เข้าถึงแต่ละกลุ่มก็ควรจะแตกต่างกันด้วย
อ่านผลสำรวจแบบเต็ม ETDA