สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย จัดงานวันนักการตลาด “Thailand Marketing Day 2020: The Marketing Mutation” สะท้อนความเปลี่ยนแปลงของโลกการตลาดยุคโควิด-19 พร้อมแนะ 3 มิติการปรับเปลี่ยนอย่างสร้างสรรค์ กลายพันธุ์เพื่ออยู่รอด เพราะผู้บริโภคคือผู้กลายพันธุ์กลุ่มแรกนับตั้งแต่การใช้ชีวิตไปจนถึงการทำงาน
ดังนั้นนักการตลาดต้องสามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาส ด้วย 4 แกนความรู้สำคัญ ดังนี้
- Strategic marketing การวางกลยุทธ์ที่ชัดเจนก่อนออกเดินทางในโลกธุรกิจ
- Marketing Technology & Innovations การเรียนรู้ที่จะนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาปรับใช้เพื่อสร้างสรรค์ผลลัพธ์ที่แตกต่าง
- Storytelling การสื่อสารอย่างมีศิลปะ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในโลกที่เต็มไปด้วยสาสน์จากหลายแบรนด์
- Marketing integrity & Sustainability การเติบโตอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานของธรรมาภิบาลที่ดี
โดยภายในงานได้จัดให้มีกิจกรรมรูปแบบที่น่าสนใจ พร้อมการบรรยายหลากหลายหัวข้อจากวิทยากรที่จะมาเปิดโลกแห่งประสบการณ์ใหม่ ฟังข้อมูลเจาะลึกครอบคลุมทุกแง่มุม ตั้งแต่เรื่องวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ เทคโนโลยีการตลาดที่จะรับมือกับวิถีชีวิตใหม่ของผู้บริโภค มาจุดแรงบันดาลใจพร้อมรับความรู้จากผู้บริหารระดับสูงกว่า 30 ท่านจากหลากหลายวงการ และงานนี้มีนักการตลาดชั้นนำของไทยมาร่วมงานอย่างคับคั่ง รวมทั้งยังมีการร่วมงานออนไลน์เป็นครั้งแรกของงานวันนักการตลาดอีกด้วย
นายอนุวัตร เฉลิมไชย นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “นับตั้งแต่ต้นปี 2020 เราทุกคน ต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งเป็นมหาวิกฤติที่ไม่มีใครคาดคิด ไม่มีใครคาดเดาได้ว่าจะจบอย่างไรแน่ และจะต้องเผชิญความท้าทายอะไรอีก ในห้วงเวลาแห่งความยากลำบาก เราได้เห็นถึงพลังของความคิดสร้างสรรค์ และพลังของการร่วมใจ ทุกคน ทุกองค์กร เพื่อที่จะพาธุรกิจของตนและพาเศรษฐกิจให้ข้ามผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปให้ได้”
มหาวิกฤต Covid-19 ทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เป็นไปได้
ในช่วงที่ผ่านมาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอยู่เหนือจินตนาการ ไม่ว่าจะเป็นการ lockdown ทั่วโลก ที่ทำให้ทุกคนต้อง work from home, ร้านค้า บริการต้องปิด การค้าขายในรูปแบบเดิมๆต้องหยุดชะงัก, การเดินทางข้ามประเทศต้องหยุดนิ่ง ธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวต่างประเทศกลายเป็นศูนย์ ความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตนั้นเกิดขึ้นอย่างมากมายมหาศาล และ impact ที่ยิ่งใหญ่นี้เอง ที่เป็นตัวจุดประกายในการ “กลายพันธุ์”
Digital lifestyle ที่เคยเป็นแค่เทรนด์ใหม่ในกลุ่ม early adopter ก็ถูกนำมาใช้จริงเพื่อความอยู่รอด ไม่ว่าจะเป็นการทำงานแบบ virtual workplace ที่ทุกคนต้องทำงานผ่านระบบ online อย่าง Zoom, Google Hangout, หรือ Microsoft Team จนถึงการ shopping หรือ สั่งอาหาร online ก็กลายเป็นเรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวันของทุกคน จะเห็นได้ชัดจากสถิติการใช้งานของ Zoom ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการประชุมออนไลน์ยอดนิยม ที่มีการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล จากยอดการประชุมออนไลน์ 10 ล้านครั้งต่อวันในเดือนธันวาคม 2562 เป็น 300 ล้านครั้งต่อวันในเดือนมีนาคม 2563 โดยมีรายรับรวมสำหรับไตรมาส 2 / 2563 เพิ่มขึ้นถึง 355% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว (Source: GlobeNewswire)
และจากสถิติของ Facebook ในรายงาน Digital Consumers of Tomorrow, Here Today ได้ชี้ให้เห็นว่า เหตุการณ์โรคระบาดนี้ เป็นตัวเร่งให้เกิดการกลายพันธุ์ของผู้บริโภค มาเป็น Digital native เต็มตัวภายในปีเดียว ทั้งๆที่เคยคาดการณ์ว่าจะใช้เวลาถึง 5 ปี โดยในเอเชีย จะมีผู้บริโภคที่เป็น Digital consumers ครบ 310 ล้านคน โดยที่เคยคาดการณ์ว่า ตัวเลขนี้จะมาถึงในปี 2025 และในปีทีผ่านมา online retail ในเอเชียตะวันออกกเฉียงใต้ได้มีการขยายตัวสูงมาก ผู้บริโภคไม่ใช่แค่เปลี่ยนที่ช็อบ แต่ยังมีความหลากหลายในการช็อปออนไลน์มากขึ้น มีการเพิ่มของกลุ่มสินค้าใหม่ๆถึง 40% และทีโดดเด่นคือ สินค้า Groceries ที่ผู้บริโภคกว่า 43% เปลี่ยนนิสัยมาซื้อสินค้าเหล่านี้ทางออนไลน์
สิ่งนี้ทำให้ Next normal กลายเป็น now normal
เมื่อโลกของผู้บริโภคเปลี่ยน โลกการตลาดก็ต้องเปลี่ยนให้ไวกว่า หลายองค์กรพบว่าการ transformation อาจไม่ทันการ ในสถานการณ์เช่นนี้ การตลาดจะต้อง mutate หรือ กลายพันธุ์ให้ทันลูกค้าและสภาวะที่เปลี่ยนแปลงแบบไม่คาดคิดอย่างทันท่วงที จึงเป็นที่มาของปรากฎการณ์ “Marketing Mutation” ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์อย่างสร้างสรรค์ ในหลากหลายธุรกิจ ซึ่ง The Marketing Mutation นั้นแบ่งออกเป็น 3 มิติ
- มิติแรก ตัวนักการตลาดเอง ที่ต้องมีการ re-skill เพื่อ mutate เป็นนักการตลาดพันธุ์ใหม่ ปรับความรู้และแนวคิด เปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานแบบเดิมๆ เพิ่มความยืดหยุ่นพลิกแพลงเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ โดยสมาคมการตลาดฯ อยากชี้ให้เห็นความสำคัญ ของ 4 แกนความรู้สำคัญ คือเรื่อง Strategic marketing การวางกลยุทธ์ที่ชัดเจนก่อนออกเดินทางในโลกธุรกิจ, Marketing Technology & Innovations การเรียนรู้ที่จะนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาปรับใช้เพื่อสร้างสรรค์ผลลัพธ์ที่แตกต่าง, Storytelling การสื่อสารอย่างมีศิลปะ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในโลกที่เต็มไปด้วยสาสน์จากหลายแบรนด์, และ Marketing integrity & Sustainability การเติบโตอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานของธรรมาภิบาลที่ดี
- มิติที่สอง คือ การ up-skill เปิดมุมมองใหม่ๆในการมองลูกค้าและ business model แบบนอกกรอบ เอาชนะข้อจำกัดด้วยการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส ด้วยการทำสิ่งที่ไม่เคยทำ โดยไม่ละทิ้งแก่นแท้และตัวตนของแบรนด์
- มิติที่สาม คือการกลายพันธุ์ให้อยู่ร่วมกันเป็น ecosystem เมื่อมองไปในตลาด อย่าเห็นแต่คู่แข่งที่ต้องเอาชนะ แต่ให้มองหาพันธมิตรที่จะมาร่วมรบ โดยนำจุดแข็งของกันและกันมาต่อยอดบนแพลตฟอร์ม เพื่อนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุด เป็น end-to-end solution ให้แก่ลูกค้า
ในวันนี้ แม้สถานการณ์ต่างๆจะเริ่มคลี่คลาย แต่ก็ยังห่างไกลจากโลกธุรกิจแบบเดิมๆที่เราคุ้นเคย หลายๆองค์กรยังคงไม่รู้ทิศทางที่จะเดินหน้าต่อไปในสถานการณ์ที่ยากจะคาดเดาว่าจะมีความท้าทายอื่นใดรออยู่หรือการฟื้นตัวจะเป็นในรูปแบบไหน แต่ออย่างไรก็ดี หากนักการตลาดกลายพันธุ์ได้เก่ง มีวิสัยทัศน์แห่งการเปลี่ยนแปลง เน้นทั้งการสร้างผลลัพธ์ระยะสั้นเพื่อความอยู่รอด ควบคู่ไปกับการวางกลยุทธ์ให้ชัด และไม่ลืมมองไปข้างหน้า สร้างความยั่งยืนในระยะยาวผ่านการสร้างแบรนด์ให้เข็มแข็งด้วย เห็นอกเห็นใจและความใส่ใจในความเดือดร้อนของลูกค้าและสังคม ผมเชื่อมั่นว่า เราจะสามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้อย่างแน่นอน” นายอนุวัตรกล่าวทิ้งท้าย