Site icon Thumbsup

เจาะ 5 Marketplace สุดฮอตที่ต้องรีบหาของไปลงขาย

อาจเพราะหนึ่งในตลาดที่กำลังอินเทรนด์ของปีนี้ถูกชี้มาแล้วว่าเป็น “E-Commerce” โดยสังเกตได้ว่าภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น Logistics, e-Payment, Mobile-banking ฯลฯ ต่างก็เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกมารับกระแสดังกล่าวกันแทบไม่เว้นวัน ซึ่งกระแสที่กำลังมานี้นอกจากจะเอื้อประโยชน์ต่อพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่มีของดีในมือให้ขายได้ดียิ่งขึ้นแล้ว ยังเป็นตัวสนับสนุนให้ตลาด E-Commerce ไทยมีความแข็งแกร่ง และเติบโตอย่างก้าวกระโดดไปพร้อม ๆ กันด้วย

แต่ในภาพของการเติบโตนี้ สิ่งหนึ่งที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์พบก็คือ คำถามที่ว่า แล้วเราจะเลือกขายบนแพลตฟอร์มไหนดี? วันนี้ ทีมงาน Thumbsup จึงขอรวบรวม Marketplace ที่กำลังได้รับความนิยมมาฝากกัน จะมีแพลตฟอร์มใดบ้างนั้น ไปติดตามกันเลยค่ะ

11street

นาทีนี้อาจต้องยกชื่อของ 11street ขึ้นมาก่อนใคร เพราะถือเป็นแพลตฟอร์มที่กำลังมาแรงกับสโลแกน Your Everyday Marketplace หลังจากเปิดตัวไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่่ผ่านมา ที่สำคัญ 11street เลือกที่จะดึงดูดนักช้อปเข้าหาแพลตฟอร์มด้วยโปรโมชันดี ๆ อย่างต่อเนื่อง แถมยังได้ดาราระดับแม่เหล็กอย่าง “ซงจุงกิ” และ “มิว-นิษฐา จิรยั่งยืน” เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์เพื่อให้เข้าถึงใจผู้บริโภคด้วย

สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งสำหรับ 11street ก็คือการตั้งแคมปัสสองแห่งในกรุงเทพฯ เพื่อเป็นศูนย์บริการครบวงจรสำหรับผู้ขาย และมีการร่วมมือกับพันธมิตรมากมาย เช่น ไปรษณีย์ไทย, Kerry Express รวมถึงธนาคารของไทยในด้านการชำระเงิน ขณะที่ช่องทางการเข้าถึง 11street ก็มีหลายช่องทาง ทั้งเว็บไซต์ www.11street.co.th , แอปพลิเคชัน 11street Thailand, www.facebook.com/11street.TH/ และ www.instagram.com/11streetth

Facebook

จากยอดผู้ใช้งาน Facebook ที่ปัจจุบันแตะ 1.8 พันล้านคน คงต้องยอมรับว่าตลาดนี้น่าดึงดูดใจมาก แถมจากสถิติ การใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนไทย ก็ไปอยู่บนโลก Social Media อย่าง Facebook แล้วเกิน 80 เปอร์เซ็นต์ (อ้างอิงจาก WeAreSocial) ซึ่งหลายคนเจอสถิติเหล่านี้เข้าไปก็ต้องมีแอบคิดบ้างล่ะว่า ใคร ๆ ก็เปิดร้านขายของบน Facebook กันหมดถ้าเช่นนั้น ก็ลองขายดูบ้างดีกว่า

ส่วนตัวผู้เขียนมองว่า การเปิดร้านบน Facebook นั้นมีประโยชน์หลายอย่าง และที่สำคัญคือมีเครื่องไม้เครื่องมือใหม่ ๆ ให้เราได้ทดลองใช้งานอยู่เสมอ ซึ่งถือเป็นการฝึกฝน และทำให้พ่อค้าแม่ขายได้ขวนขวายหาความรู้ไปในตัวค่ะ

Lazada

หลังจากถูก Alibaba ควบกิจการไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาจนกลายเป็นข่าวฮือฮาไปทั่วโลก มาถึงวันนี้คงต้องยอมรับว่าแพลตฟอร์มอย่าง Lazada นั้นน่าสนใจมากกว่าเดิม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสื่อต่างประเทศที่ยกให้ Lazada เป็น Marketplace online ที่เติบโตรวดเร็วที่สุดแพลตฟอร์มหนึ่ง และมีสินค้ามากมายหลายชนิด ซึ่งเป็นตัวดึงดูดนักช้อปให้เข้ามาในแพลตฟอร์มได้เป็นอย่างดี แถมการร่วมทุนกับ Alibaba ยังช่วยให้ Lazada พัฒนาแพลตฟอร์มและบริการได้ดียิ่งขึ้น เพราะ Alibaba มีความเชี่ยวชาญ และมีเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการเติบโตของ Lazada ในอนาคตนั่นเอง

Instagram

ในฐานะแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานกว่า 600 ล้านคนทั่วโลก Instagram ถูกจัดเป็นหนึ่งใน Marketplace ที่มีความแข็งแกร่งพอตัวทีเดียว

LnwShop

สุดท้ายกับ LnwShop ที่เป็นอีกแพลตฟอร์มหนึ่งซึ่งมีร้านค้าให้เราเลือกซื้อได้มากมายหลายหมวดหลายไอเท็ม โดยเฉพาะสินค้าแฟชั่นสำหรับคนรุ่นใหม่ ซึ่งก็ต้องบอกว่า LnwShop มีบริการต่าง ๆ สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ให้ไม่แพ้เว็บอื่นเลยทีเดียว เช่น ช่วยโปรโมตสินค้าออนไลน์ อัปรูปอัปข้อมูลต่าง ๆ บริการแชทกับลูกค้า ฯลฯ รวมถึงบริการ My App ที่ช่วยสร้างแอปพลิเคชันสำหรับร้านค้าให้เสร็จสรรพ กลายเป็นแอปพลิเคชันแบบ Standalone บน Android และ iOS ซึ่งเท่ากับว่าไม่ต้องไปแข่งบน Marketplace ของ LnwShop กับร้านอื่น ๆ อีกนับแสนแห่ง ที่สำคัญแอปพลิเคชันนี้ ยังเปิดให้ลูกค้าได้เลือกชมสินค้า ดูสินค้าแนะนำ สินค้าขายดี ระบบตะกร้าสินค้า สั่งซื้อพร้อมชำระเงินผ่านออนไลน์ ผ่านบัตรเครดิต หรือการชำระเงินผ่านธนาคาร โต้ตอบกระทู้บนเว็บบอร์ด ฝากข้อความ หรือจะตรวจสอบสถานะรายการสั่งซื้อ (สำหรับลูกค้า) ก็ได้ทั้งหมด

สำหรับใครที่ได้แพลตฟอร์มในใจแล้ว งานต่อไปเป็นเรื่องของการลงมือทำแล้วล่ะค่ะ ซึ่งนอกจากวิธีการเปิดร้านบน Marketplace สุดฮอตทั้ง 5 แพลตฟอร์มตามที่เรานำมาฝากกันแล้ว เรื่องของการขาย ก็เป็นศาสตร์และศิลป์ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน สำหรับใครที่สนใจสร้างคอนเทนต์เพื่อส่งเสริมการขายให้ดียิ่งขึ้น อยากให้ลองคลิกเข้าไปอ่านเรื่องนี้ดูค่ะ “ขายของ online ให้เด่นด้วยวิธีทำ Content Marketing สไตล์ญี่ปุ่น” อ่านจบแล้ว ทดลองแล้ว ได้ผลเป็นอย่างไร แวะมาบอกเล่ากันบ้างนะคะ 🙂

ส่วนท่านใดที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจ SMEs ลองชมคลิปวีดิโอดีๆ จาก Krungsri Guru กันก่อนก็ดีค่ะ เพราะเป็นเทคนิคที่บอกว่าลงทุนอย่างไรให้เสี่ยงน้อยหน่อยนั่นเอง

https://www.youtube.com/watch?v=pqrEjcFyfWo

แหล่งข้อมูล: WeAreSocial

บทความนี้เป็น Advertorial