เมื่อสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลายแน่นอนว่าบริษัทที่มีพนักงานนั่งประจำออฟฟิศย่อมต้องวางแผนที่จะให้พนักงานกลับไปทำงานเช่นเดิม แต่ในต่างประเทศกลับเจอปัญหาพนักงานตัดสินใจลาออกแทนการกลับไปนั่งทำงานที่ออฟฟิศ
ช่วงไตรมาสสองของปี 2021 ปัญหาที่องค์กรธุรกิจในสหรัฐกำลังประสบปัญหากัน นั่นก็คือการตบเท้ากันลาออกจำนวนกว่า 3.9 ล้านคนแล้ว ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจประเภทกลุ่มคนรายได้ต่ำ งานท่ีต้องสัมผัสกับคนจำนวนมาก อย่างเช่น กลุ่มร้านอาหาร โรงแรมและสถานบันเทิง เป็นต้น
สำหรับปัญหานี้ก็คือ The Great Resignation ปัญหานี้คล้ายกับที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2530 ที่เรียกว่า The Great Retention โดย 39% ของพนักงานพร้อมลาออกหากต้องกลับไปทำงานออฟฟิศเหมือนเดิม
อย่างไรก็ตาม มีนักวิจัยตลาดหลายฝ่ายคาดการณ์ว่าตัวเลขการลาออกจากงานนี้ จะเพิ่มขึ้นอีก 50% หากเจาะจงเก็บข้อมูลเฉพาะกลุ่มมิลเลนเนียลและเจน Z ซึ่งปัญหานี้กำลังลุกลามไปในหลายประเทศฝั่งยุโรป ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เนเธอแลนด์และฝรั่งเศส
ส่วนประเทศไทยนั้น ตัวเลขผู้ป่วยโควิด-19 ในอนาคตหากมีตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลงและคนทำงานยุคใหม่ก็คุ้นชินกับการทำงานที่บ้านกันมากขึ้น อาจส่งผลให้การกลับไปทำงานที่ออฟฟิศลดลง และนิยมทำงานแบบ remote มากขึ้น
ต้นตอเทรนด์นี้มาจากไหน
การเกิดขึ้นของเทรนด์นี้ไม่ได้หมายความว่า คนทำงานรุ่นใหม่นั้นขี้เกียจหรือไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน คนรุ่นใหม่พวกนี้ยังคงต้องการงานอยู่ แต่พวกเขาก็ต้องการที่จะยืดหยุ่นเรื่องงานกับชีวิตความเป็นอยู่ไปพร้อมกัน
แม้คนรุ่นก่อนจะมองว่าการเริ่มต้นอัตราค่าแรงที่ 15,000 บาทนั้นสูงกว่าในสมัยก่อนที่เริ่มต้นรายได้ที่หลักพัน แต่ก็ต้องยอมรับด้วยว่ายุคสมัยนั้นปรับเปลี่ยนไปเยอะมาก
ค่าใช้จ่ายในเรื่องของค่าเดินทางไปกลับต่อวันต่อคนเริ่มต้นที่ 50 บาท/วัน ค่าอาหารและเครื่องดื่มอยู่ที่ 100 บาท/วัน ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายยิบย่อยในการใช้ชีวิตร่วมกับคนในสังคม จึงเป็นเหตุผลให้คนรุ่นใหม่อยากประหยัดโดยลดการเกิดขึ้นของสิ่งเร้าจากสังคมรอบตัว
ขยายรายละเอียดความต้องการของพนักงานรุ่นใหม่
- ความต้องการเรื่องค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น
สิ่งที่พนักงานรุ่นใหม่ต้องการอย่างเงิน ความยืดหยุ่นและความสุขในการทำงาน เป็นปัจจัยหลักที่คำนึงถึงเป็นอันดับแรกๆ เพราะการกลับไปใช้ชีวิตการทำงานแบบเดิม พนักงานอาจไม่สบายใจเรื่องการติดเชื้อที่ง่ายขึ้น การเดินทางที่อาจเผลอสัมผัสกับสิ่งสกปรกและอยากลดค่าใช้จ่ายจากการเดินทางไปช่วยเพิ่มเงินเก็บได้ดีขึ้น
รวมทั้งการที่ต้องทำงานที่บ้านเป็นเวลานานก็กังวลที่ต้องห่างจากลูกหลานที่ยังเรียนออนไลน์ หรือสัตว์เลี้ยงที่มาอยู่เป็นเพื่อนช่วงที่ work from home
- ต้องการความหมายในชีวิตที่มากขึ้น
การใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ช่วงโควิด-19 หลายคนได้ใช้ชีวิตกับตัวเองมากขึ้น ค้นพบความหมายในการใช้ชีวิต ทำให้พวกเขาพบเจอสิ่งที่ตนเองชอบ และอยากที่จะกลับไปใช้ชีวิตแบบเดิม
การทำงานที่บ้านเป็นระยะนานๆ กลายเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขาเห็นความหมายในการใช้ชีวิตและเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หลายอย่างไป เช่น การทำอาหาร การปลูกต้นไม้ การเลี้ยงสัตว์ และพบว่าการทำงานไม่ใช่แค่หาเงินแต่ต้องการต้นทุนหรือเงินทุนไปใช้ในการตามหาความฝันและเดินหน้าทำในสิ่งที่ตนเองต้องการได้ด้วยเงินจากการทำงานนี้
- หมดไฟในการทำงาน
ด้วยรูปแบบการทำงานออนไลน์ที่เหมือนจะสบายไม่ต้องเดินทาง แต่ช่วงแรกของการ WFH ที่มีการประชุมแบบไม่จำกัด และผู้บริหารกดดันเรื่องของเวลานั่งหน้าจอทำงานหนักมากทำให้พนักงานรู้สึกว่าหมดพลังในการทำงานแต่ละวันที่หนักจนไม่มีเวลาพัก ไม่สามารถแยกออกระหว่างการทำงานกับการใช้ชีวิต
ดังนั้น หากผู้บริหารยังคิดว่าการกลับมาทำงานที่ออฟฟิศเพื่อรักษาวัฒนธรรมองค์กร ผู้บริหารจำเป็นต้องตอบคำถาม 3 ข้อนี้ให้ได้ก่อนว่า
- ระหว่าง WFH ประสิทธิภาพการทำงานของทีมลดลงหรือไม่
- มีความจำเป็นต้องเข้าออฟฟิศ 5 วัน/สัปดาห์เช่นเดิมหรือไม่
- การยอมเสียพนักงานมือทองแลกกับการทำงานในออฟฟิศ คุ้มค่าจริงหรือไม่
ไม่ว่าทางเลือกที่ผู้บริหารองค์กรคือแนวทางใด สิ่งที่ผู้บริหารควรตะหนักก็คือ
- คุณให้ความสำคัญกับ Passion และความตั้งใจในการทำงานมากกว่าเรื่องของเงิน
- พนักงานรับผิดชอบกับงานที่ได้รับมอบหมายให้เป็นระบบไม่ใช่เจอภาระแทรกที่วุ่นวายกับงานจนคุณภาพลดลง
- ตารางการทำงาน อาจไม่ใช่เข้างาน 9 โมงเช้า – 5 โมงเย็นแบบเดิม
พนักงานควรวางแผนชีวิตอย่างไร
- พัฒนาตนเองให้เป็นที่ต้องการของตลาดงาน : ไม่ใช่แค่เราในฐานะคนทำงานที่อยากได้องค์กรที่ดี องค์กรเองก็อยากได้พนักงานที่มีความสามารถที่ตอบโจทย์เช่นกัน ซึ่งทักษะหลักที่นายจ้างต้องการ ประกอบด้วย ทักษะด้านการสื่อสาร, ทักษะในการทำงานเป็นทีม, ทักษะในการแก้ไขปัญหา, ทักษะในการคิดริเริ่ม, ทักษะในการบริหารจัดการ และทักษะในการปรับตัว
- วางแผนหลังตกงานให้รอบคอบ : ด้วยชีวิตหลังโควิด-19 หลายคนได้ปรับเปลี่ยนมุมมองและแนวทางกาาใช้ชีวิตมากมาย การออกมาเป็นเจ้านายตัวเองก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก จึงควรวางแผนรายรับ-รายจ่ายให้ดี มองหาอาชีพเสริมที่จะช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายหลัก รวมทั้งค้นหาความสามารถของตัวเอง
- การเรียนรู้สิ่งใหม่ไม่มีวันจบสิ้น : การหาทักษะเสริมเรียนรู้ด้านต่างๆ ย่อมเป็นประโยชน์สำหรับคนที่ไม่หยุดการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นทักษะเล็กๆ อย่างการตัดต่อคลิป ตัดแต่งภาพ เรียนถ่ายภาพ-ถ่ายวีดีโอ ไปจนถึงทักษะใหญ่ๆ อย่างการเรียนต่อปริญญาโท ปริญญาเอกเพื่อนำวุฒิไปปรับใช้กับตำแหน่งที่เพิ่มขึ้นในอนาคต ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ควรทำทั้งสิ้น และเป็นการอัพเกรดเรซูเม่ของเราให้เป็นที่ต้องการกับตลาดงานด้วย
- ปรับมุมมองด้านทักษะการทำงานให้มากกว่าเดิม : ไม่ว่าตอนอยู่ออฟฟิศเก่าคุณจะมีประวัติดีหรือไม่ในสายตาของ HR การเข้ามาสู่องค์กรใหม่คุณต้องปรับเปลี่ยนนิสัยเสียบางอย่างและกระหายการทำงานให้มากขึ้น เพราะการเป็นพนักงานใหม่ย่อมหมายถึงอยู่ในช่วงวัดประสิทธิภาพของคุณว่าจะอยู่รอดกับองค์กรหรือไม่ ดังนั้น การสื่อสารกับทีมให้มากขึ้น ควบคุมเวลาและจัดการอารมณ์ตัวเองได้ดี ถือว่าเป็นแกนสำคัญที่องค์กรนำมาใช้ในการประเมินศักยภาพของคุณ
ที่มา :