ในเวลานี้คงไม่มีใครไม่รู้จักแพลตฟอร์มสร้างสรรค์วีดีโอสั้นอย่าง TikTok ซึ่งมีการเติบโตอย่างรวดเร็วหลังเปิดให้บริการเพียงไม่นาน เนื่องด้วยปริมาณคอนเทนต์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นจำนวนมากจากผู้ใช้ทั่วโลก ทำให้การบริหารจัดการคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มมีความสำคัญ
ซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของ TikTok ในการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยบนแพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เป็นบวกและปลอดภัยให้กับชุมชนผู้ใช้ TikTok ทั่วโลก อันเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้ของเราในการแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์โดยที่ผ่านมา TikTok มีการดำเนินงานในเรื่องการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยด้วยความโปร่งใสและความรับผิดชอบสูงสุด
TikTok ให้ความสำคัญกับการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยบนแพลตฟอร์ม เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับชุมชนผู้ใช้ TikTok ทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทย โดยมีทีมทำงาน 24 ชั่วโมง 7 วัน ประจำอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ทำงานร่วมกับระบบ Machine Learning ในการตรวจสอบและคัดกรองคอนเทนต์บนแพลตฟอร์ม
นอกจากนี้ยังมี แนวทางปฏิบัติสำหรับชุมชน (Community Guideline), ศูนย์ความปลอดภัย (Safety Center) และศูนย์เพื่อความโปร่งใสและรับผิดชอบ (Transparency) ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูล นโยบาย และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้ สามารถเข้าถึงได้ง่าย
รวมถึงเทคโนโลยีและฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยต่างๆ บนแพลตฟอร์ม ได้แก่ การควบคุมระยะเวลาการใช้แพลตฟอร์ม (Screen Time Management) และ การจำกัดเนื้อหาที่อาจไม่เหมาะสม (Restricted Mode) รวมไปถึงฟีเจอร์ในการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในการใช้แพลตฟอร์ม เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้ในขณะใช้เวลาบนแพลตฟอร์ม
นอกจากนี้ TikTok ยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมในเรื่องความปลอดภัยบนแพลตฟอร์มและการสร้างสภาพแวดล้อมเชิงบวกให้กับชุมชนผู้ใช้ TikTok ทั่วโลก โดยช่วงหกเดือนแรกของปี 2563 ได้มีการพัฒนาเรื่องความปลอดภัยในหลายๆ ด้าน โดยใน TikTok Transparency Report ได้สรุปข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายความปลอดภัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
- การเพิ่มขอบเขตแนวทางปฏิบัติสำหรับชุมชนด้วยนโยบายใหม่ต่างๆ เพื่อจัดการกับการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดและข้อมูลที่มีการบิดเบือน
- การเปิดตัวโปรแกรมตรวจสอบข้อเท็จจริง (fact-checking program) ใน 9 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, อังกฤษ, ออสเตรเลีย, ฝรั่งเศส, อิตาลี, สเปน, ญี่ปุ่น และอินเดีย เพื่อช่วยในการตรวจสอบเนื้อหาที่อาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่, การเลือกตั้ง และอื่นๆ ซึ่งมีแผนที่จะขยายพื้นที่ในการใช้โปรแกรมนี้ในประเทศอื่นๆ ต่อไป
- การเพิ่มกิจกรรมที่เกี่ยวกับการให้ความรู้ทางการศึกษาบนแพลตฟอร์มและการสร้างสรรค์แฮชแท็กที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสำคัญในสังคม เช่น COVID-19, การเลือกตั้ง, Black Lives Matter และ QAnon เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องเชื่อถือได้ให้กับผู้คน
- การเปิดตัวโหมดแนะนำโดยผู้ปกครอง (Family Pairing) ซึ่งเป็นฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยสำหรับครอบครับ เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถเชื่อมต่อบัญชี TikTok ของตนเองกับบุตรหลานได้ เพื่อเข้าไปควบคุมดูแลในการเข้าถึงคอนเทนต์ของบุตรหลาน รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้แพลตฟอร์มของบุตรหลาน เช่น Screen Time Management หรือ เวลาในการใช้แพลตฟอร์มให้กับบุตรหลาน
- ความร่วมมือกับองค์กรความปลอดภัยชั้นนำระดับโลก อาทิ National Center for Missing and Exploited Children และ WePROTECT Global Alliance
- ความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนา Machine Learning ในการจัดการกับ Hate Speech และความปลอดภัยของเยาวชนในด้านอื่นๆ
และเพื่อตอกย้ำว่า TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่มุ่งมั่นในการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยบนแพลตฟอร์ม ล่าสุดจึงได้มีการจัดตั้งที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยแห่งเอเชียแปซิฟิก (APAC Safety Advisory Council) เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับนโยบายการกลั่นกรองเนื้อหาและปัญหาด้านความปลอดภัยที่เฉพาะเจาะจงสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยสมาชิกสภา APAC Safety Advisory Council จะทำหน้าที่ในการคาดการณ์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นใหม่ในภูมิภาคที่อาจส่งผลกระทบต่อแพลตฟอร์มและผู้ใช้ เพื่อพัฒนาแนวทางและกลยุทธ์ในการจัดการกับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
ทั้งหมดนี้ คือ สิ่งที่สามารถตอกย้ำให้เห็นว่า TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่มีแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยควบคู่ไปกับการกำหนดหลักจรรยาบรรณบนแพลตฟอร์มอย่างเคร่งครัด ด้วยความมุ่งมั่นในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เป็นบวกและความปลอดภัยบนแพลตฟอร์มพร้อมด้วยฟีเจอร์การใช้ด้านความปลอดภัยที่ครอบคลุม อาทิ การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว การควบคุมระยะเวลาการใช้งานบนแพลตฟอร์ม, การจำกัดการแสดงเนื้อหาที่เหมาะสม และ โหมดแนะนำโดยผู้ปกครองรวมถึงการตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
เพื่อให้ TikTok เป็นพื้นที่แสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์และสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยให้กับผู้ใช้ทุกคน