สำหรับผู้ที่ใช้งาน Twitter นั้นคงจะคุ้นเคยกับการเห็น Hashtag หรือสัญลักษณ์ # ที่ในยุคนี้ดาราไทยเอาไปใช้กันจนมั่วไปหมดทั้งบน Twitter และ Instagram ไม่เว้นแม้แต่ Facebook ก็ยังมี ซึ่งวัตถุประสงค์จริงๆ แล้วนั้น Hashtag นั้นถูกออกแบบมาเพื่อการแยกแยะหมวดหมู่ของข้อความทวีตให้เป็นระเบียบนั่นเอง แน่นอนว่า Hashtag ก็ถูกเอามาช่วยในการทำการตลาดในยุคนี้เช่นกันครับ
บทความแปลนี้จะเป็นทิป 3 ข้อที่จะดึงเอาความสามารถของ Hashtag มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางการตลาดและธุรกิจกันจริงๆ มากกว่าที่จะเอามาใส่ Tag ตามดารานะครับ
เลือก hashtag ที่ไม่เหมือนใคร (และไม่มีใครเหมือน)
สำหรับนักการตลาดหรือคนที่ดูแลด้านโซเชียลมีเดียของแบรนด์สำหรับงานอีเวนท์ใดๆ ก็แล้วแต่ hashtag จะถูกนำมาใช้เพื่อให้สามารถดูความเป็นไปและสถานการณ์ของงานนั้นๆ ว่ามีการพูดถึงมากน้อยขนาดไหน ซึ่งถ้าสังเกตุบน Timeline ของแต่ละคนน่าจะพอได้เห็นการใช้ hashtag ลักษณะนี้กันมาบ้างแล้ว โดยคำที่เอามาใช้ใน hashtag นั้นควรจะต้องใช้คำที่ตั้งขึ้นมาให้เข้ากับงานนั้นๆ เลยโดยเฉพาะ โดยไม่ซ้ำกับใคร หรือเป็นคำกลางๆ ที่ใช้กันทั่วไป เช่น หากเป็นงานอีเวนท์ ก็ไม่ควรหรือหลีกเลี่ยงที่จะใช้คำว่า #event หรือ #seminar ซึ่งใครหลายคนก็สามารถใช้ได้แบบซ้ำๆ กัน และทำให้คนที่จะมาหาหรือติดตามเจอข้อความที่มั่วไปหมด
ตัวอย่างที่ยกขึ้นมาแบบง่ายๆ ก็คือการใช้ hashtag ของงาน Start it Up, Power it Up ครั้งที่ 3 ที่เพิ่งจะผ่านไป ซึ่งถ้าคิดกันในแง่ว่าเป็นงาน Startup เราก็สามารถที่จะเลือกใช้ hashtag เป็น #startup ได้ แต่เมื่อลองค้นหาดูแล้วปรากฏว่า #startup ถูกใช้งานกันอย่างมากมายในเมืองนอก เลยต้องหันมาใช้ตัวเลือกถัดไป นั่นคือการใช้ #startitup แต่ก็ยังเจอกับปัญหาเดิม คือมีคนใช้งานอยู่แล้ว
สุดท้ายก็มาตกลงกันด้วยคำว่า #startitupTH ด้วยการระบุไปว่าเป็นประเทศไทย ซึ่งก่อนที่จะใช้งานนั้นเราต้องตรวจสอบกันบน Twitter ว่ามีการใช้งานไปแล้วบ้างหรือยัง ซึ่งผลลัพธ์ก็คือยังไม่มีใครใช้ จึงเป็นที่มาของการใช้ hashtag นี้นั่นเอง
ตั้งชื่อให้จำ(และพิมพ์)ให้ง่ายเข้าไว้
นอกจากการตั้งชื่อที่ไม่ควรจะซ้ำกับใครและสื่อได้อย่างเหมาะสมแล้ว?สิ่งที่สำคัญก็คือการตั้งชื่อที่สามารถจดจำได้ง่ายก็ถือเป็นอีกสิ่งที่ควรระลึกถึง นอกจากนั้นการกำหนดชื่อใน hashtag ก็ควรที่จะเลือกออกมาให้สะกดได้ง่ายหรือใช้ตัวอักษรเพียงไม่กี่คำ เพราะอย่าลืมว่าพื้นที่ในการทวีตข้อความนั้นมีเพียง 140 ตัวอักษรเท่านั้น
ตัวอย่างเช่น Tag ที่ผมใช้มาตั้งแต่เริ่มเล่น Twitter จนถึงทุกวันนี้ก็คือ #ittwt ซึ่งก็เป็นการย่อโดยที่เข้าใจได้ค่อนข้างง่ายว่าเนื้อความที่มี hashtag นี้จะเกี่ยวข้องกับข่าวสารหรือวงการไอที หรือจะเป็น #zries สำหรับคนไทยที่ติดตามซีรีย์ฝรั่ง (เลี่ยงจาก #series) ทั้งสองตัวอย่างนี้เห็นได้ชัดเจนว่ามีความสั้นและสื่อความหมายแบบรู้กันไม่ยากนัก
ส่วนตัวอย่างของฝรั่งที่ใช้กัน ช่อง ABC ที่ทำการฉายรายการเรียลลิตี้ อย่าง?Dancing With the Stars เขาก็มีการใช้ตัวย่อเป็น #DWTS แทนเพื่อให้คนจำง่ายและพิมพ์ได้ง่ายขึ้น
สำหรับการตั้งชื่อใน hashtag ที่ภาษาไทย สามารถถูกตั้งชื่อใน hashtag ได้เช่นกัน โดยหากว่าชื่อมีตัวการันต์, พยัญชนะต่างๆ ที่ทำให้พิมพ์ยากเราอาจจะเลือกใช้เป็นการย่อคำก็ได้ แต่บางครั้งก็อาจจะยากในความเข้าใจเพราะภาษาไทยสามารถตีความได้หลายอย่างและอาจผสมเป็นคำใหม่ที่อ่านออกมาแล้วเป็นการจดจำที่ไม่ค่อยดีนัก
ใช้ Hashtag บนหลายๆ ช่องทางบนโซเชียลมีเดีย
นอกจากการใช้งานบน Twitter เป็นหลักแล้ว เรายังสามารถเอามาใช้บนโซเชียลมีเดียตัวอื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Google+ แต่สิ่งที่ใช้ hashtag ได้เหมือนกับ Twitter มีเพียง Instagram เท่านั้น ดังนั้นตัวอื่นๆ จะไม่สามารถใช้ได้ แต่ก็จะช่วยในแง่ของการจดจำให้มีการใช้งาน hashtag ชื่อนี้ในเหตุการณ์นั้นๆ ได้ง่ายไม่ว่าจะใช้โซเชียลมีเดียตัวใด และ hashtag จะเป็นตัวที่เน้นใจความสำคัญของอีเวนท์และงานนั้นๆ ด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับการกำหนดคำจาก 2 ข้อด้านบนด้วย
ตัวอย่างของไทยที่จะยกขึ้นมาก็คือ แสนสิริ ที่ใช้แทบทุกช่องทางของโซเชียลมีเดีย แต่สิ่งที่ยึดแน่นมากนั่นคือการใช้ hashtag ที่เป็นชื่อเดียวกันในทุกๆ ที่
ทั้ง 3 ข้อเป็นแนวทางและตัวอย่างสำหรับนักการตลาดและผู้ดูแลแบรนด์ผ่านโซเชียลมีเดียอย่าง Twitter ที่คงต้องมาดูแลเอาใจใส่กับ hashtag ที่ตั้งในแต่ละงานว่าจะมีผลอย่างไรบ้างนะครับ ลองเอาไปคิดและใช้กันดู
ที่มา:?socialmediaexaminer
แถม!
เจอความคิดเห็นหนึ่งจากที่มาของบทความดูแล้วน่าสนใจครับ เป็นเว็บที่สามารถทำให้เราเห็นข้อความทั้งหมดที่มี hashtag ที่เราสนใจอยากดู นั่นคือเว็บ?twubs.com?สามารถที่จะเข้าไปลงทะเบียน hashtag ไว้สำหรับใช้ในงานของเราโดยเฉพาะ แต่ก็เพื่อดูข้อความเพียงอย่างเดียวเท่านั้นนะครับ