ทำไมคอนเทนต์ถึงมีคุณค่ามากกว่ายอด Like ยอด Share คุณท้อฟฟี่ ชญาน์ทัต วงศ์มณี VC Content Management จาก SCB ที่เป็นทั้งนักคิด นักเขียน นักสัมภาษณ์บนเว็บไซต์ The Standard และเจ้าของเพจ @ท้อฟฟี่แบรดชอว์ ได้ขึ้นมาแชร์ประสบการณ์และความรู้ที่น่าสนใจในงาน iCreator Conference 2020 กับหัวข้อ การสร้างคอนเทนต์คุณภาพและช่วยแบรนด์ขายของได้ด้วย เพื่อตอบโจทย์สิ่งที่หลายคนอยากรู้ว่า “เรากำลังทำคอนเทนต์ไปเพื่ออะไร?”
ผมอยากให้ทุกคนย้อนนึกถึงไปถึงวันแรกที่คิดถึงจุดเริ่มต้นในการทำคอนเทนต์ที่มีเหตุผลแตกต่างกัน โดยผมเริ่มต้นด้วยจุดที่แย่ที่สุด โดยผมอาสาอยากเป็นผู้บุกเบิกแผนกคอนเทนต์ขึ้นมาใหม่ ผมรอที่จะเริ่มต้นทำงานนี้ โดยมีการประชุมอัพเดทสิ่งต่างๆ ผมได้รับแจ้งว่าจะมีการประกาศว่าได้ย้ายตำแหน่งไปทำหน้าที่ในตำแหน่งที่อยากทำ และเป็นวันที่ผมควรจะมีความสุขมากๆ
การประกาศบอกว่าผม “ทำงานไม่ได้” กลายเป็นเสียงในหัวที่ทำให้ผมอยู่ในจุดที่จมดิ่งและตัวช้า เหมือนเป็นฝุ่นในที่ทำงาน รู้สึกไม่มีค่า และการทำงานตลอดหลายปีต้องพังทลายและไม่มีความน่าเชื่อถืออีกต่อไป วันนั้นกลายเป็นวันเกิดที่ผ่านมาที่เราได้รับการโปรโมท มีคนยอมรับ หรือที่จริงแล้วเรามันห่วย เป็นจุดที่ทำให้ผมรู้สึก “ไม่มีค่า” และไม่อยากลุกขึ้นมา ความรู้สึกตอนนั้นคือผมไม่มีความหมายเลย และมีเพียง 2 ทางเลือก คือ ‘ยอมรับว่าตัวเองไม่มีคุณค่า ไม่สามารถทำงานได้’ หรือ ‘สู้ต่อด้วยตัวเอง’
สิ่งที่ผมคิดในตอนนั้นคือผมจะปิดประตูบานนั้น หรือตัดสินใจที่จะเลือกเปิดประตูบานใหม่ให้ตัวเอง ผมรู้ดีว่ามีคนอีกมากมายที่จะต้องเจอปัญหาเหมือนกัน ทั้งจากบทเรียนที่ผมเจอหรือได้เรียนรู้จากแง่มุมต่างๆ ถ้าผมสร้างความสุขให้คนในที่ทำงานได้ ก็จะไปสร้างการทำงานใหม่ที่ไม่ใช่ความสุขกับงานแค่ 8 ชั่วโมง แต่จะเป็น 24 ชั่วโมงที่มีความสุข
นั่นจึงเป็นที่มีของการเริ่มต้นทำคอนเทนต์พอดแคสต์ I HATE MY JOB โดยทุกวันก่อนทำคอนเทนต์ผมจะเจอคำถามมากมายและตอบคำถามเหล่านั้นทุกวัน โดยความตั้งใจในการทำคอนเทนต์ คือการเปลี่ยนคำว่า “I HATE MY JOB” เป็นคำว่า “I LOVE MY JOB”
ในการทำคอนเทนต์สัมภาษณ์แต่ละครั้งนั้น คุณท้อฟฟี่เชื่อว่าการตั้งคำถามที่ดีจะมอบคุณค่าให้กับทุกคน ทั้งคนสัมภาษณ์ คนให้สัมภาษณ์ คนดู คนฟัง และคนอ่าน คอนเทนต์สามารถส่งต่อความคิดที่มีประโยชน์และมีคุณค่าได้ ยกตัวอย่างการสัมภาษณ์คุณปอย ตรีชฏา เกี่ยวกับการรับมืออย่างไร กับสังคมที่ทำให้คนมองเธออย่างดูหมิ่นด้วยคำว่า LGBT ซึ่งคุณปอยเองตอบคำถามนี้ได้อย่างดีมากว่า
“ปอยยอมเสียงานดีกว่า การตอกย้ำภาพของความเป็นตัวตลกในสังคม”
หรือในกรณีการสัมภาษณ์คุณพลอย ไลลาที่ถูกนักข่าวแบน เกี่ยวกับการที่พลอยหายไปและไม่ถูกใครตัดสินหรือจับจ้อง พลอยตอบว่า “พลอยเป็นโรคซึมเศร้า” ในนาทีนั้นผมเปลี่ยนบทบาทจากคนสัมภาษณ์เป็นนักฟังและเรียนรู้ปัญหาจากเขา ช่วงเวลาที่เธอเล่าเรื่องเหล่านั้น ช่วงเวลาที่ยากลำบากนั้น ต่อให้เป็นคนดังแค่ไหน เธอก็เป็นเพียงมนุษย์คนหนึ่งเท่านั้น การสัมภาษณ์ที่ถูกจุดช่วยให้เราได้เรียนรู้จากการตั้งคำถามและได้เรียนรู้ชีวิตจากเขาเหล่านั้น
สิ่งที่ผมเพิ่งรู้คือ คนที่เป็นโรคซึมเศร้าในโลกนี้มีเยอะมาก โรคโซเชียลทำให้เห็นโลกที่โหดร้าย แต่คอนเทนต์ที่มีคุณภาพจะช่วยสร้างกำลังใจให้คนมีพลังมากขึ้นกว่าเดิม
คอนเทนต์ที่ดีแบบยั่งยืนต้องเป็นยังไง
การทำคอนเทนต์ให้คนอ่านประทับใจและจดจำเราไปได้ตลอดนั้น ควรมีหลักการอะไรบ้าง
- ดีต่อตัวเราเอง : คนทำคอนเทนต้องดีขึ้น ต้องเติบโตขึ้น ได้ในสิ่งที่ภูมิใจ ไม่ต้องอายที่ต้องทำ เพราะการใช้ชีวิตคือการสร้างแบรนด์ที่ดีที่สุด และแบรนด์ก็คือตัวเราเอง
- ดีต่อคนที่อยู่ตรงหน้า : ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า, คนอ่าน และผู้บริโภค คอนเทนต์ที่ดีควรจะมีประโยชน์เเละส่งต่อคุณค่าความเป็นมนุษย์ต่อไป รวมทั้งส่งต่อได้ ดีต่อคนอ่าน ดีต่อคนดู
- ดีต่อคนที่อยู่รอบข้าง : อยากให้สังคมเป็นแบบไหน คอนเทนต์สามารถช่วยผลักดันทิศทางของสังคมผ่านพลังของคอนเทนต์ได้
ทั้งสามสิ่งนี้ ถ้าคุณเป็นคนทำงานด้านความงาม คุณจะทำให้คนภูมิใจ ตระหนักในความมีคุณค่าและความสวยของตัวเอง ถ้าคุณทำคอนเทนต์ด้านการท่องเที่ยว ทำให้เขารู้ว่าเขายังเรียนรู้และช่วยให้คนที่ไม่กล้าออกจากบ้าน กล้าที่จะออกไปดูโลก ท่องเที่ยว ทำให้เขามีช่วงเวลาที่ดีจากการท่องเที่ยวและตระหนักว่าชีวิตไม่ควรตั้งอยู่ในความประมาท
เราทำอะไรได้อีกตั้งเยอะแยกครับ มากกว่าแค่ยอดไลค์หรือแชร์ คอนเทนต์ที่ทรงพลังคือ คอนเทนต์ที่ช่วยให้คนมีกำลังใจจะมีชีวิตต่อไป แม้จะเจอปัญหาต่อไปแต่กล้าที่จะสู้ต่อไป เรา ในฐานะคนสร้างคอนเทนต์ก็เหมือนสะพานที่จะช่วยสร้างโลกที่ดีต่อไป
แล้วคุณล่ะทำคอนเทนต์ไปเพื่ออะไร?
ในฐานะคนทำคอนเทนต์ ผมอยากจะเป็นสะพานคนที่ช่วยชีวิตใครหลายๆ คน ไม่ว่าจะเป็น ช่วยชีวิตตัวเอง ช่วยชีวิตคนอื่น แล้วจะดีแค่ไหน ถ้าคนทำคอนเทนต์ทำสิ่งนี้ร่วมกัน ตอบคำถามตัวเองให้ได้ว่า เรากำลังทำคอนเทนต์เพื่ออะไร เพื่อคนที่อยู่ข้างหน้า เพื่อคนที่อยู่รอบข้าง หรือเพื่อตัวเราเอง