Twitter และ Facebook ออกแถลงการณ์ ระบุจัดการเนื้อหาที่ดิสเครดิตผู้ชุมนุมชาวฮ่องกง ที่มาจากชาวจีนหรือรัฐบาลจีนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังสถานการณ์การชุมนุมเริ่มยืดเยื้อออกไป กลายเป็นความขัดแย้งระหว่างผู้คนในฮ่องกงและจีน
สถานการณ์การชุมนุมของชาวฮ่องกง นับตั้งแต่มีัการประท้วงกฎหมายส่งผู้ร้ายจากฮ่องกงกลับไปตัดสินที่ประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ แม้ผู้บริหารเกาะฮ่องกงจะยอมถอยแล้ว แต่สถานการณ์การชุมนุมเริ่มยืดเยื้อออกไป กลายเป็นความขัดแย้งระหว่างผู้คนในฮ่องกงและจีนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ล่าสุด เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (19 ส.ค. 62) ทั้ง Twitter และ Facebook ต่างออกแถลงการณ์เพื่อจัดการเนื้อหาที่ดิสเครดิตผู้ชุมนุมชาวฮ่องกง ที่มาจากชาวจีนหรือรัฐบาลจีนแล้ว
ในแถลงการณ์ Twitter ระบุว่าพบ 936 บัญชีจากประเทศจีน ที่มีความจงใจและพยายามหว่านล้อมด้วยข้อมูลที่ทำลายความชอบธรรมในการประท้วงและเคลื่อนไหวทางการเมืองของชาวฮ่องกง
และแถลงการณ์ Facebook ระบุว่าพบ 5 บัญชี Facebook, 7 เพจ, 3 กรุ๊ป ซึ่งพบว่า 15,500 บัญชีกำลังตามเพจดังกล่าวมากกว่า 1 เพจ และมีอีก 2,200 บัญชีที่เข้าอย่างน้อย 1 กรุ๊ปดังกล่าว ที่มีความเกี่ยวข้องกับการดิสเครดิตผู้ชมนุมในฮ่องกงที่มาจากประเทศจีน
แน่นอนว่า Twitter และ Facebook แบนบัญชีและช่องทางที่เผยแพร่ข้อมูลที่สร้างความสับสนไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ทางด้าน YouTube ก็ถูกผู้ใช้งานใน Twitter และ Reddit กดดันให้ลบหรือแบนโฆษณา China Central Television หรือ CCTV ซึ่งเป็นสื่อของรัฐบาลจีนที่เผยแพร่ข้อมูลที่สร้างความเข้าใจผิดให้กับผู้ชุมนุมในฮ่องกงอีกด้วย
Getting served midroll CCTV ads on YouTube about how Hong Kongers love the motherland: pic.twitter.com/Kd3i3hihoJ
— 𝕛𝕒𝕞𝕖𝕤 𝕘𝕣𝕚𝕗𝕗𝕚𝕥𝕙𝕤 🇭🇰🏴 (@jgriffiths) August 9, 2019
ซึ่งตอนนี้ YouTube และ Google ก็ไม่ได้มีนโยบายเจาะจงไปยังโฆษณาจากสื่อรัฐอย่าง CCTV เลย แม้ Google จะมีนโยบายเกี่ยวกับโฆษณาการเมืองและเนื้อหาด้านการเมืองที่สร้างความเข้าใจผิดให้เกิดขึ้น ซึ่งตอนนี้ YouTube ก็ยังไม่ตอบในประเด็นนี้แต่อย่างใด ปัจจุบัน YouTube Channel ของ CCTV มีผู้ติดตามมากกว่า 560,000 รายแล้ว
ส่วน Geng Shuang โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีนออกมาปกป้องแคมเปญดังกล่าว โดยระบุว่า “บัญชีดังกล่าวไม่ใช่ทีมบิดเบือนข้อมูลของรัฐบาล แต่ชาวจจีนที่เป็นนักเรียน(หรือนักศึกษา)และเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ต่างประเทศนั้นมีสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ได้”
ที่มา: Social Media Today, The Next Web และ The Verge