เกือบสามในสี่ของประชากรโลกที่อายุเกิน 12 ปีนั้น ใช้โซเชียลมีเดีย คนเหล่านี้มีส่วนร่วมกับบริษัทค้าปลีกบนโซเชียล โดยผู้ใช้เกือบหนึ่งในสี่ หรือคิดเป็น 23% ของผู้บริโภคเลือกที่จะติดตามบริษัทที่พวกเขาเคยซื้อสินค้าและอีก 22% เลือกที่จะติดตามบริษัทที่พวกเขาคิดว่าสนใจจะซื้อ และสำหรับบริษัทค้าปลีก โซเชียลคอมเมิร์สนั้นเปิดเส้นทางใหม่สำหรับการซื้อขาย และนั่นคือเหตุผลที่ว่า ทำไมการเข้าใจการตลาดบนโซเชียลจึงจำเป็นต่อบริษัทค้าปลีก
การตลาดบนโซเชียลมีเดียสามารถเป็นประโยชน์ให้แก่ธุรกิจค้าปลีกได้ในทุกขั้นตอนของกระบวนการขาย โดยต้องเริ่มจากการหาวิธีการเริ่มขายจนถึงวิธีการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าผ่านโซเชียลมีเดีย
วิธีใช้โซเชียลมีเดียมาร์เก็ตติ้ง เพื่อเพิ่มยอดขายธุรกิจค้าปลีก
1.ให้โซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการขาย
โซเชียลมีเดียมักเป็นที่ที่ผู้คนจะหาข้อมูลเมื่อคิดจะซื้อสินค้า ผู้ใช้โซเชียลมีเดียมากกว่าหนึ่งในสี่ใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเพื่อหาแรงจูงใจในการซื้อ โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางที่จะมาเติมเต็มธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและยังเป็นช่องทางที่สำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในแต่ละแพลตฟอร์มก็มีเครื่องมือและความสามารถที่แตกต่างกันในการเชื่อมต่อและดึงดูดลูกค้า
2. ใช้โซเชียลคอมเมิร์ส
หนึ่งในประโยชน์หลักของโซเชียลมีเดียสำหรับธุรกิจค้าปลีกคือขั้นตอนโซเชียลคอมเมิร์สที่จะทำให้ผู้ใช้โซเชียลมีเดียสามารถซื้อสินค้าจากบริษัทค้าปลีกได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ทำได้โดยแทบจะไม่ต้องออกจากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียนั้นๆเลยด้วยซ้ำ
3. อัพเดตสถานะโซเชียลมีเดียบ่อยๆ
การอัพเดตสถานะบนโซเชียลมีเดียบ่อยๆจะช่วยให้เข้าถึงและบริการลูกค้าได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น การรับส่งข้อความผ่านโซเชียลมีเดียจะเป็นช่องทางในการโต้ตอบระหว่างลูกค้ากับธุรกิจค้าปลีกและยิ่งการส่งข้อความเพื่อสอบถามสามารถทำได้อย่างลื่นไหลก็จะยิ่งทำให้ผู้ซื้อรู้สึกเชื่อมั่นกับแบรนด์มากยิ่งขึ้น การตอบสนองอย่างรวดเร็วก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญต่อการซื้อของลูกค้า ดังนั้นมันจึงคุ้มค่าที่จะลงทุนเวลาและเงินไปกับโซเชียลมีเดียสำหรับการบริการลูกค้า อาจทำด้วยการสร้างแชทบอทหรือเครื่องมือต่างๆที่สามารถจัดการกับกล่องข้อความบนโซเชียลมีเดียได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการบริการลูกค้าที่ดีจะช่วยลบอุปสรรค์ในการซื้อของลูกค้านั่นเอง
4. ร่วมงานกับอินฟลูเอนเซอร์
หนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการเชื่อมต่อกับลูกค้าผ่านทางช่องทางออนไลน์ก็คือการค้นหาชุมชนที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ ซึ่งอินฟลูเอนเซอร์จะเป็นตัวนำทางไปยังชุมชนเหล่านั้นเพราะอินฟลูเอนเซอร์นั้นมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับชุมชนเฉพาะกลุ่มและได้รับความไว้วางใจจากผู้ติดตามของพวกเขา และลูกค้าส่วนใหญ่จะซื้อหรือแนะนำผลิตภัณฑ์ให้กับเพื่อนและครอบครัวโดยอ้างอิงจากเนื้อหาของอินฟลูเอนเซอร์ พวกเขาสามารถขยายการเข้าถึงของแบรนด์ไปยังผู้ใช้โซเชียลได้อย่างกว้างขวางแถมยังเป็นกลุ่มลูกค้าที่ตัวแบรนด์นั้นต้องการอีกด้วย โดยผลการวิจัยของMeta กล่าวไว้ว่าเมื่อทำการเปรียบเทียบแคมเปญโฆษณาที่ใช้อินฟลูเอนเซอร์กับไม่ใช้ ผลออกมาว่าโฆษณาที่มีการใช้อินฟลูเอนเซอร์มีแนวโน้มสูงขึ้น85%ที่ทำให้ผู้คนซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านั้น
5. โฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย
อีกหนึ่งวิธีที่จะทำการมุ่งเน้นการใช้งานโซเชียลมีเดียให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการคือการซื้อโฆษณาบนโซเชียลมีเดียที่มีการกำหนดเป้าหมายไปยังกลุ่มลูกค้าที่ต้องการ แคมเปญโฆษณาบนโซเชียลมีเดียสามารถเน้นให้ไปปรากฎกับผู้ใช้ที่มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าได้ อีกทั้งธุรกิจค้าปลีกสามารถพิจารณาพฤติกรรมออนไลน์ ความเชื่อมโยงที่มีอยู่กับแบรนด์และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งสามารถสรุปและรวบรวมออกมาได้ง่ายกว่าวิธีแบบดั้งเดิมเป็นอย่างมาก
ทริคการตลาดบนโซเชียลมีเดีย
1. อย่าขายมากเกินไป
ถึงแม้โซเชียลมีเดียจะถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มยอดขายให้มากขึ้น แต่การดูขายมากเกินไปก็เป็นสิ่งที่ไม่ดี ผู้ติดตามจะลดลงอย่างรวดเร็วหากลงโพสต์ที่มีแต่เนื้อหาส่งเสริมการขาย
ควรเน้นไปที่การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ติดตามซึ่งจะนำไปสู่ยอดขายที่เพิ่มขึ้นในอนาคต ใช้โฆษณาบนโซเชียลให้ผู้คนรับรู้ถึงแบรนด์และสร้างคอนเท้นต์ที่จะสร้างความน่าเข้าถึงต่อแบรนด์ไปพร้อมๆกัน แนวทางที่ดีคือกฎ 80/20 ให้ 80%เป็นเนื้อหาทั่วไปของแบรนด์ อาจเป็นโพสต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์หรือสร้างความบันเทิงให้กับผู้คน และใช้เพียง 20%เพื่อโพสต์ที่ส่งเสริมธุรกิจโดยตรง
2. ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์
ปัจจุบันอีคอมเมิร์ซกลายเป็นช่องทางหลักสำหรับหลายๆธุรกิจค้าปลีก นั่นหมายถึงการโต้ตอบแบบตัวต่อตัวกับลูกค้านั้นจะลดน้อยลงไปด้วย ซึ่งการโต้ตอบนั้นจำเป็นต่อธุรกิจมากเพราะมันคือตัวขับเคลื่อนความภักดีและการซื้อที่เพิ่มมากขึ้นของลูกค้า ซึ่งแบรนด์สามารถทำผ่านโซเชียลมีเดียได้โดยเครื่องมือต่างๆเช่น การสาธิตผลิตภัณฑ์ผ่านไอจีสตอรี่ หรือการโต้ตอบกับลูกค้าแต่ละบุคคลผ่านกล่องข้อความหรือกล่องความคิดเห็น
3.เลือกใช้แพลตฟอร์มให้เหมาะสม
ควรเลือกแพลตฟอร์ตฟอร์มที่เหมาะสมกับรูปแบบการตลาดของแบรนด์ เช่น หากแบรนด์ใช้วิธีการตลาดที่ต้องการกระตุ้นให้ลูกค้าเกิดส่วนร่วมผ่านคอนเท้นต์ที่น่าสนใจ แพลตฟอร์มที่ควรใช้นำเสนอก็จะเป็นแพลตฟอร์มที่ผู้คนส่วนมากมีส่วนร่วมกับคอนเท้นต์หรือเกิด engagement ที่มากเช่น Insragram หรือ Twitter แต่หากแบรนด์ต้องการที่จะสร้างการเข้าถึงที่กว้างขวางมากขึ้น แบรนด์อาจต้องเลือกแพลตฟอร์มที่ถูกใช้โดยผู้คนจำนวนมากเช่น Facebookหรือ Youtube
4. คอนเท้นต์ที่ดีลูกค้าที่ใช่ในเวลาที่เหมาะสม
ควรเริ่มจากการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายให้ดีและวางแผนการตลาดเพื่อเจาะจงไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมายนั้นให้เหมาะสม อาจทำได้โดยเครื่องมือต่างๆที่แต่ละแพลตฟอร์มมีแล้วเก็บข้อมูลเหล่านั้นไปรวบรวมและวิเคระาห์ จากนั้นก็นำเสนอคอนเท้นต์นั้นๆให้ออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ โดยเฉพาะในเรื่องช่วงเวลาที่ต้องมีการทดลองอยู่เรื่อยๆว่าระยะเวลาใดที่เหมาะสมในการลงคอนเท้นต์