อีกหนึ่งดีลใหญ่สะเทือนตลาดสื่อโฆษณานอกที่อยู่อาศัย เมื่อ VGI เข้าซื้อหุ้น PLAN B 18.6% มูลค่าร่วม 4,600 ล้านบาท หวังครองและผลักดันส่วนแบ่งทางการตลาดดังกล่าวที่มีอยู่ 70 เปอร์เซ็นต์ร่วมกัน
บริษัท วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) (VGI) อนุมัติการเข้าลงทุนใน บริษัท แพลน บี มีเดีย จำกัด (มหาชน) (PLAN B) ด้วยการเข้าซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ PLAN B จำนวน 352,960,736 หุ้น และซื้อหุ้นจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม 4 รายจำนวน 368,843,969 หุ้น (คิดเป็น 9.5 เปอร์เซ็นต์) ได้แก่
- บริษัท แพลน บี อินเวสเม้นท์ โฮลดิ้ง จำกัด ขายไป 115,271,379 หุ้น คิดเป็น 2.97 เปอร์เซ็นต์
- บริษัท เอ๊าท์ดอร์ มีเดีย อินเวสเม้นท์ จำกัด ขายไป 182,742,964 หุ้น คิดเป็น 4.71 เปอร์เซ็นต์
- ดร.พินิจสรณ์ ลือชัยขจรพันธ์ ขายไป 12,591,104 หุ้น คิดเป็น 0.32 เปอร์เซ็นต์
- พีที อีลัง มาโคตา เทคโนโลยี ทีบีเค ขายไป 58,238,522 หุ้น คิดเป็น 1.50 เปอร์เซ็นต์
รวมเป็นหุ้นของ PLANB ที่จะได้มาทั้งหมดจำนวน 721,804,705 หุ้น (คิดเป็น 18.59 เปอร์เซ็นต์) คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 4,619,550,112 บาท
ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดว่าการซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนและหุ้นเดิมจะเสร็จสมบูรณ์ภายในวันที่ 27 มีนาคม 2562 โดยโครงสร้างผู้ถือหุ้นใน PLAN B 10 อันดับแรกจะเปลี่ยนไปดังนี้
- นายปรินทร์ โลจนะโกสินทร์ – มี 1,004,068,100 หุ้น – คิดเป็น 25.86 เปอร์เซ็นต์
- บริษัท วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) – มี 721,804,705 หุ้น – คิดเป็น 18.59 เปอร์เซ็นต์
- บริษัท แพลน บี อินเวสเม้นท์ โฮลดิ้ง จำกัด – มี 216,063,140 หุ้น – คิดเป็น 5.56 เปอร์เซ็นต์
- นายพินิจสรณ์ ลือชัยขจรพันธ์ – มี 140,509,379 หุ้น – คิดเป็น 3.62 เปอร์เซ็นต์
- CLSA LIMITED – มี 186,036,925 หุ้น – คิดเป็น 4.79 เปอร์เซ็นต์
- กองทุนเปิด บัวหลวงหุ้นระยะยาว – มี 152,692,900 หุ้น – คิดเป็น 3.93 เปอร์เซ็นต์
- นายสุชาติ ลือชัยขจรพันธ์ – มี 108,280,000 หุ้น – คิดเป็น 2.79 เปอร์เซ็นต์
- กองทุนเปิด บัวหลวงหุ้นระยะยาว – มี 75/25 79,631,000 หุ้น – คิดเป็น 2.05 เปอร์เซ็นต์
- บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด – มี 78,339,549 หุ้น – คิดเป็น 2.02 เปอร์เซ็นต์
- กองทุนเปิด เค 20 ซีเล็คท์หุ้นระยะยาวปันผล – มี 78,024,000 หุ้น – คิดเป็น 2.01 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งปรากฎการณ์การร่วมมือครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของ VGI มีกลยุทธ์ที่ยืดหยุ่นเข้ากับแพลตฟอร์มทางธุรกิจเพื่อสร้างโอกาสผลักดันการเติบโต โดยคาดหวังที่จะรวบส่วนแบ่งการตลาดสื่อโฆษณานอกบ้านกว่า 70 เปอร์เซ็นต์
นอกจากนี้ VGI ยังได้เข้าทำสัญญาความร่วมทางธุรกิจ กับ PLAN B เพื่อพัฒนาสื่อโฆษณาภายนอกที่อยู่อาศัยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้แม่นยำและวัดผลได้ชัดเจน, จัดหาและบริหารจัดการทรัพยากรสื่อโฆษณาร่วมกัน (Joint Sourcing) และหาแนวทางเพื่อดำเนินการทางการตลาดร่วมกัน เช่น การ Cross-Selling สื่อโฆษณาให้แก่ลูกค้า และ/หรือการซื้อขายสื่อโฆษณาระหว่างกันอีกด้วย
มีแค่ธุรกิจทับซ้อนกันแค่บางอัน
VGI มุ่งเน้นธุรกิจสื่อโฆษณานอกบ้านครอบคลุมแค่ 3 กลุ่มสื่อ คือ
- สื่อโฆษณาในระบบขนส่งมวลชน (โครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส และโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย) โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ สื่อมัลติมีเดีย (Multimedia) และสื่อภาพนิ่ง (Static)
- สื่อโฆษณาในอาคารสำนักงานและในที่พักอาศัย ซึ่งธุรกิจสื่อโฆษณาของ VGI
ซึ่งทาง VGI ระบุว่าการลงทุนในหุ้น PLAN B จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งในเชิงกลยุทธ์ให้กับทั้งสองบริษัทผ่านการรวมเครือข่ายและรูปแบบของสื่อโฆษณาภายนอกที่อยู่อาศัย (Out of Home Media) และก่อให้เกิดประโยชน์อื่นๆ ดังนี้
- ช่วยเพิ่มการเข้าถึงเครือข่ายสื่อโฆษณาภายนอกที่อยู่อาศัย ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการขายสื่อโฆษณา ส่งผลให้ผลประกอบการโดยรวมของ VGI เติบโตมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และช่วยให้มีรายได้จากส่วนแบ่งกำไรของ PLANB อีกทางหนึ่ง
- นำความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในธุรกิจสื่อโฆษณาภายนอกที่อยู่อาศัยของทั้งสองบริษัทมาช่วยช่วยส่งเสริมการก้าวขึ้นเป็นผู้นาในการให้บริการด้าน O2O Solutions (Offline-Online Marketing Solutions)
- ความร่วมมือกันจะช่วยให้เกิด Economies of Scale ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของ VGI ลดลง โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ส่งผลให้การดำเนินงานโดยรวมมีประสิทธิภาพ-ผลตอบแทนที่ดียิ่งขึ้น
ส่วน PLAN B ประกอบธุรกิจให้บริการ และผลิตสื่อโฆษณาภายนอกที่อยู่อาศัย ซึ่งแบ่งออกเป็น 7 ธุรกิจหลักดังนี้
- สื่อโฆษณาบนระบบขนส่งมวลชน (Transit Media) โดยเน้นสื่อโฆษณาภายนอก และภายในรถโดยสารประจาทางปรับอากาศ
- สื่อโฆษณาภาพนิ่ง (Static Media)
- สื่อโฆษณาดิจิทัล (Dynamic Media)
- สื่อโฆษณาภายในห้างสรรพสินค้า (Mall Media)
- สื่อโฆษณาภายในซุปเปอร์มาร์เก็ต (In-Store Media)
- สื่อโฆษณาภายในสนามบิน (Airport Media)
- สื่อโฆษณาออนไลน์ (Online Media)
ส่วนเหตุผลที่ PLAN B อนุมัติดีลครั้งนี้ก็เพราะมองว่า “ธุรกิจสื่อโฆษณาของ VGI ไม่ได้มีลักษณะทับซ้อนหรือแข่งขันกันกับบริษัทแต่อย่างไร” และบริษัทย่อยและบริษัทร่วมของ VGI ประกอบธุรกิจที่ใกล้เคียงกันหรือแข่งขันกันกับบริษัทบางอย่างเท่านั้น