2559 ถือเป็นปีที่เริ่มการบริการ 4G แบบพร้อมหน้าพร้อมตาครั้งแรก และการมาของ 4G จะเป็นจุดเปลี่ยนในการเชื่อมต่ออีกครั้งด้วยความเร็วที่มากขึ้น เพื่อทำให้ภาคส่วนของธุรกิจสามารถดำเนินได้ดีขึ้น เลยเป็นจุดที่ทำให้ทาง CyberBiz โดยผู้จัดการออนไลน์ จัดงาน Welcome 4G เทคโนโลยีเติมเต็มชีวิต เพื่อเปิดให้ทุกค่ายได้เปิดใจกับผู้เข้าฟัง
สำหรับผู้ร่วมงานในครั้งนี้มีตัวแทนจาก 4 บริษัท ได้แก่ คุณรังสรรค์ จันทร์นฤกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานการตลาดและเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน), คุณภัคพงศ์ พัฒนมาศ รองผู้อำนวยการธุรกิจโมบายล์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), คุณฐิติพงศ์ เขียวไพศาล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส สายงานการตลาดและการขาย บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และคุณปริศนา รัตนสุวรรณศรี ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานธุรกิจโพสต์เพด บริษัท โทเทิ่ล แอ็คแซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค
ปี 2559 แต่ละองค์กรจะมีผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ใช้บริการบ้าง
- TOT การพัฒนาบริการอินเทอร์เน็ต, wireless boardbrand โดยจะมีเทรนด์เรื่องความเร็วและความครอบคลุมพื้นที่การให้บริการ ส่วนบริการจะเพิ่มเข้ามาคือ multimedia, IPTV โดยเฉพาะอย่างหลังที่มียอดขายอย่างต่อเนื่องแม้จะมี TV Digital ก็ตาม และจะมีการพัฒนาเรื่อง Payment ในชื่อ Just Pay ที่มีการร่วมมือกับหลายๆ ค่ายในการให้บริการและอำนวยความสะดวก
- True ได้ให้บริการ 4G มา 2 ปี ด้วยจำนวนลูกค้าประมาณ 2-3 ล้านกว่าราย สำหรับการได้คลื่นมาอยู่ในมือมากก็ทำให้การบริหารที่ดีขึ้น โดยมองว่าตอนนี้ 4G จากเมื่อก่อนจะเป็นแค่บางคนที่ใช้งานได้ แต่ด้วยราคาเครื่องก็ทำให้ทุกคนใช้งานได้ จาก Convergence ที่ True ทำมา 4G จะทำให้บริการสมบูรณ์ขึ้นและบริการจากต่างประเทศ เช่น VoIP, IoT ก็จะเข้ามาในไทยเพื่อให้คนไทยได้ใช้งาน โดยยังไม่มีการระบุว่าจะให้บริการเมื่อไหร่
- AIS จากที่เราเพิ่งจะได้ใบอนุญาต 4G และทดลองใช้เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา และจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 26 มกราคมพร้อมกับการเปิดบริการต่างๆ ในวันเดียวกัน ทาง AIS มองประเด็นเรื่อง 4G คือเรื่องการติดตั้ง network ให้เร็วที่สุด โดยภายในปีนี้น่าจะติดตั้งครบทุกจังหวัด อย่างที่สองคือการเข้ามาของอุปกรณ์ที่รองรับ 4G ที่จากเดิมจะราคาแพงก็จะกลายเป็นเครื่องที่หาได้ทั่วไป เรื่องที่สามคือค่าบริการ จะมีความคุ้มค่าต่อ GB มาก เพราะผู้ใช้งานจะมีความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายที่แพง เรื่องที่ 4 คือ Social media ทุกคนจะใช้ปริมาณข้อมูลเป็นเรื่องปกติสามัญ
นอกจากนั้น AIS ยังมองว่าการทำ 4G เป็นการถนนในการไปหาสิ่งต่างๆ ที่ต้องการ โดยมีความร่วมมือกับหลายๆ พันธมิตรที่มีความถนัดในแต่ละเรื่อง และ AIS มองเรื่องการมี bandwidth ที่น้อยว่า AIS มีความเชื่อในการออกแบบ เพราะ AIS ถูกจำกัดของคลื่นความถี่มาโดยตลอดมาตั้งแต่แรก
- DTAC พูดถึงเรื่องการประมูลไม่ได้ว่า จริงๆ DTAC อยากได้คลื่นเหมือนกับทุกค่าย แต่เราก็มีแผนสำรอง การที่ไม่ได้ประมูลคือการเอาเงินที่ประมูลมาลงเรื่อง network, infrastructure มากขึ้น โดย 4G dtac ทำมาประมาณ 1 ปีแล้ว 44 จังหวัด โดยในสิ้นปีนี้จะครอบคลุมทุกจังหวัด
DTAC ก็ยังมองเรื่อง device ที่ถูกใจและถูกราคา รวมทั้งการสร้างแอปพลิเคชันและคอนเทนต์ด้วยการเน้นเรื่องประสบการณ์ในการใช้งาน ส่วนเรื่องธุรกิจ จะมีความเป็น mobility มากขึ้น ทำให้สร้างโอกาสใหม่ๆ เช่น การทำโครงการ Startup เพื่อทำให้ ecosystem ดีขึ้น
4G ที่แต่ละคนเป็นเจ้าของ จะมีส่วนช่วยให้ธุรกิจ SME อย่างไรบ้าง
- TOT พยายามตอบโจทย์ธุรกิจ โดยมี package ที่ตอบสนองกับธุรกิจ โดยบางที่ต้องการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงก็ต้องเอา Fiber Optic ความจำเป็น 1.ลดต้นทุนในการสั่งซื้อสินค้า 2.กระตุ้นเศรษฐกิจ ทุกประเทศที่เร่งการขยายอินเทอร์เน็ต จะมี GDP เพิ่มขึ้น 3-4% สำหรับ SME เริ่มจะมี Solution เฉพาะกลุ่ม เช่น โรงแรม รีสอร์ท เพื่อให้ตอบโจทย์กับผู้ประกอบการได้ดียิ่งขึ่น
- True มองการสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่ง SME ส่วนใหญ่มองเรื่องต้นทุนเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นเราจึงมอง solution ในการทำงานและทำให้ธุรกิจเติบโตเร็วขึ้น และตอบโจทย์ธุรกิจได้อย่างชัดเจน รวมไปถึงการตอบแทนเพื่อสังคมด้วย
- AIS เราจะมี SME Package พิเศษ ซึ่งทุกๆ ค่ายก็มีอยู่แล้ว โดยที่เราจะทำ interface เพื่อให้ติดต่อกับคนอื่นๆ เพื่อให้เกิดธุรกิจจากความร่วมมือได้ง่ายและเร็วขึ้น และเพิ่มโอกาสและสร้างโอกาสจากเทคโนโลยีที่มีให้
- DTAC 4G กับเทคโนโลยีช่วยปลดลอคการทำงานของ SME เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น เพราะมันไม่ใช่แค่ตลาดในเมืองไทยแต่ไปได้ทั่วโลก โดยบริการของ dtac คือการแพคเกจต่างๆ และ enterprise cloud เพื่อช่วยลดต้นทุน สิ่งที่เป็นรูปธรรมและทำไปแล้วก็คือ Smart Farmer โดยเอาข้อมูลต่างๆ เพื่อช่วยให้การปลูกข้าว, ข้อมูลราคาซื้อ-ขาย ในตลาด เพื่อช่วยในการตัดสินใจในการขาย และสร้าง platform สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ซื้อจริงๆ ทำให้ได้รายได้ที่ยุติธรรมที่สุด ซึ่งเป็นการทำลายกำแพงและช่องว่างในการทำธุรกิจ
จุดเด่นของ 4G แต่ละค่ายเป็นยังไง ทำไมถึงจะต้องเลือกค่ายมาใช้บริการกับคุณทันที
- AIS – network เราจะต้องดีขึ้น ไม่ว่าจะทั้ง 3G เองและ 4G โดยจะได้ experience เรื่อง data ที่ดีขึ้นแน่นอน และจะ operate network ให้ดีที่สุด เสถียรและใช้ได้จริง
- Dtac – เราเน้นเรื่องความเร็ว, การเอา 1800MHz มาใช้บริการ 4G, ความครอบคลุมตอนนี้ทั้ง 3G และ 4G อยู่มากกว่า 90% และเป็น network เพื่อทุกคน พร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ VoLTE, VoWi-Fi ด้วยเครื่องที่ใช้งานได้มากขึ้น และเน็ตเวิร์ค
- True – สิ่งที่สำคัญสำหรับลูกค้าที่สุดคือ Quality of Network – การได้ license ที่มากที่สุดที่ทำให้ได้ทั้ง the most capacity และ the most speed และเราก็จะมี ecosystem ของตัวเองที่จะเข้ามาตอบโจทย์ Lifestyle ของลูกค้ามากที่สุด
- TOT – มองถึงความพร้อมในเรื่อง FiberOptic และเสาส่งที่ครอบคลุมอยู่ทั้งประเทศ รวมทั้งเรามีระบบที่มี 2100, 2300 แต่ที่ยังขาดคือเงินลงทุน เรามีสัดส่วนของผู้ใช้งานและความเร็วที่น่าจะดีที่สุดในตอนนี้
คำถามสุดท้าย แต่ละค่ายจะทำอะไรให้อนาคตในระยะยาวเพื่อทำให้ลูกค้ามาใช้งาน
- TOT – มองการให้บริการที่เท่าเทียมกันไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนของไทย
- True – มีพันธกิจในการทำ เข้าถึงทุกคนเพื่อตอบสนองกับ Lifestyle ของลูกค้าได้ทุกประเภท โดยอยากจะให้ Service ของเราเป้นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศด้วย
- AIS – ความเข้าใจลูกค้าที่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และความสามารถในการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า เพื่อที่สร้างระบบในทันเวลา
- Dtac – เสริมเรื่องความเข้าใจลูกค้า เราอยากจะให้ทุกๆ คนอยู่ใน ecosystem ได้อย่างมีความสุข ด้วยความรวดเร็ว, เข้าถึง และ On ตลอดเวลา รวมถึงการให้บริการด้วยความจริงใจและมี Commitment เพื่อให้มีความสุขมากที่สุด