WERK คือแหล่งรวมร้านค้าออนไลน์ที่มีหน้าร้านจริงๆ อยู่บนสถานีของบีทีเอส ภายใต้แนวคิด “Every Store is a Story” (ทุกร้านคือเรื่องราว) ความน่าสนใจคือที่เป็นทีมของคนรุ่นใหม่ที่เชื่อว่าแบรนด์ยุคใหม่สร้างความแตกต่างได้ด้วยเรื่องราวและแนวคิด จึงได้จัดสรรพื้นที่บนสถานีรถไฟฟ้าให้คนรู้สึกสนุกสนานกับการเดินทางมาที่ร้านด้วยตัวเอง แม้ในยุคของการสั่งสินค้าออนไลน์ ลองมาคุยกับกาณฑ์ สมบัติศิริ และ ภวินท์ สิงหละชาติ กันดีกว่าว่าทำไมพวกเขาถึงได้เริ่มธุรกิจนี้กัน
จุดเริ่มต้นของการทำ WERK
เกิดจากการที่ได้เดินผ่านไปผ่านมาแถวๆ พื้นที่บนบีทีเอส จนเกิดเป็นความรู้สึกว่าพื้นที่ตรงนี้มันค่อนข้างจะมีค่า และเหมือนพื้นที่ทองเจ๋งๆ ซึ่งสิ่งที่เรามองมันคือว่าเหตุผลการออกจากบ้านของเด็กสมัยใหม่ใรทุกวันนี้ค่อนข้างยาก และที่ที่เดียวที่สามารถรวมกลุ่มคนได้เป็นล้านๆ คนต่อวันนั่นคือบีทีเอสนั่นเอง
คอนเซปต์ของ WERK
คำว่า ” WERK” ก็จะเห็นสะกดแตกต่าง โดยโลโก้ของเราจริงๆ จะเป็นเหมือนบันได เพราะเราเป็นเหมือนบันไดเพื่อเป็นแพลนต์ฟอร์มให้แบรนด์ที่เข้ามา หรือว่าให้ไปเติมเต็มสู่ความสำเร็จของแบรนด์นั้นจริงๆ
นิยามของ WERK คืออะไร?
ที่เราวางตำแหน่งตัวเองไว้จริงๆ มันคือ ‘ตัวขายปลีก’ มากกว่า คือเราใช้พื้นที่เป็นเหมือน ‘Pop-up Retail’ นั่นคือเชื่อมต่อกับบรนด์ แล้วแบรนด์ก็จะใช้พื้นที่ตรงนี้เป็นเหมือนเครื่องมือสื่อสาร หรือว่าใช้เป็น Marketing Tool ซึ่งเราอยากให้มองว่าร้านที่ตั้งเหมือนเป็น ‘3D Billboard’ ที่แบรนด์สามารถใช้พื้นที่ตรงนี้การโต้ตอบกับลูกค้าได้ เพราะรู้สึกว่ามันให้ประโยชน์ได้
จุดเด่นของธุรกิจให้เช่าพื้นที่ของ WERK
อย่างที่บอกคือจุดเด่นของเราเป็น “การใช้พื้นที่ตรงรนี้ให้กลายมาเป็น Marketing Tool” เช่น ทำอย่างไรให้เขา Lead กลับไปที่ออนไลน์ได้ อย่างง่ายๆ ที่เราเจอก็คือแบรนด์ทำ Facebook Live ที่นี่ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ลูกค้าสามรถมีปฎิสัมพันธ์กับเจ้าของได้จริงๆ
ผมว่าสิ่งที่ออนไลน์ไม่สามารถทำได้ก็คือการทำ ‘Community’ ที่เป็นปฎิสัมพันธ์ของมนุษย์จริงๆ โดยเรารู้สึกว่าออฟไลน์ตรงนี้ชนะขาด และทุกๆ ปียอดของร้านค้าที่เพิ่มขึ้นมาก็เกิดขึ้นทุกปี ซึ่งก็มองว่าสิ่งที่ร้านค้าออนไลน์พวกนี้สามารถนำเสนอได้นอกจากแค่ Pixle กับ Sound ก็คือ ‘หน้าร้าน’
เพราะเรารู้สึกว่าการไปออนไลน์อย่างเดียววิธีการอยู่รอดในทุกวันนี้มันยากขึ้นสำหรับแบรนด์ หรือไปแต่ออฟไลน์ไม่ใช้ออนไลน์เลยมันก็มีความค่อนข้างท้าทาย
แล้วมีวิธีการเลือกร้านมาลงอย่างไร
พยายามเลือกแบรนด์ที่มาอยู่ด้วยกันแล้วช่วยกัน โดยทุกแบรนด์ก็จะมีเรื่องราวที่ตัวเองอยากจะเล่า และก็นำแบรนด์ที่มีกลุ่มเป้าหมายใกล้ๆ กัน รวมทั้งมองไปถึงว่าคนที่ใช้บีทีเอสอยู่เป็นคนกลุ่มไหน มีคาร์แรคเตอร์ประมาณไหน สุดท้ายก็เลือกออกแนวไลฟ์สไตล์หน่อย และเป็นพวกสินค้าแฟชั่นที่คนซื้อกันอยู่แล้วตลอดเวลา
แล้วทำไมลูกค้าในออนไลน์ต้องมาที่หน้าร้านอีก
ในส่วน Journey ที่เรามองคือแบรนด์จะโปรโมทมาตั้งแต่ออนไลน์เลย ตัวอย่างร้านที่เข้ามาขายรูปสินค้าก็จะขึ้นไปอยู่ใน Instagram หรือ Facebook Account ของเขา แล้วลูกค้าก็จะเลื่อนดูว่ามีสินค้าตัวไหนที่น่าสนใจ จากนั้นก็จะค้นหาว่าถ้าเกิดมาลองสินค้าจริงนั้นจะลองได้ที่ไหนบ้าง ซึ่งกระบวนการที่เราตั้งใจคือให้มาง่ายที่สุด สะดวกที่สุด นั่นคือก็บีทีเอส
คนที่มาใช้บริการเป็นแบบไหน
เราเห็นว่าโฟลว์คนที่มาจะเป็น “คนที่ใช้สถานีนี้อยู่แล้ว” โดย Journey ของเขาจะเหมือนสำรวจมาแล้วว่ามีแบรนด์อะไรน่าสนใจ อยากซื้อ อยากลอง แล้วเขาก็เดินทางมาแล้วแวะลงมาตรงนี้มาดูของกันแล้วเดินทางกลับด้วยบีทีเอส ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ที่มาด้วยบีทีเอสอยู่แล้วก็จะอยู่กันแบบ 30-40 นาที หรือเดินหลายๆ ร้านก็อาจเต็มที่หนึ่งชั่วโมง
แผนการทำธุรกิจของ WERK
ภายในปีสองปีนี้เราอยากไปได้ทั้งหมดตามแนวที่รถไฟฟ้าโต เพราะเราอยากไปอยู่ในทุกๆ ที่ที่เข้าถึงกลุ่มคน ที่ในที่สุดเรามองว่าสิ่งที่เราอยากเป็นจริงๆ คือเราต้องการเชื่อมโยงแบรนด์ หรือไอเดียเจ๋งๆ ให้กับพื้นที่ที่มันน่าสนใจ
โอกาสเติบโตของธุรกิจนี้
เรามองว่าอนาคตของห้างค้าปลีกต่างๆ นั้นถ้าเกิดดูกระแสจากต่างประเทศ จะมีความค่อนข้างชิฟมาทาง Pop-up Retail เพราะว่า Frequency ต่างๆ ที่เรารู้สึกว่าต้องเร็ว เพราะพฤติกรรมของเด็กยุคใหม่นั้นค่อนข้างเปลี่ยนไป ซึ่งวันหนึ่งอาจจะดู Facebook เล่น LINE ดู Netflix มันโดนล่อใจด้วยเทคโนโลยีพวกนี้หมด
เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ทำให้เรามองเห็นว่ามีโอกาสซ่อนอยู่ในทุกๆ อย่างเสมอ โดยขอเพียงช่างสังเกตและคิดต่อยอดจากสิ่งเดิมๆ ให้มากขึ้นค่ะ