หลังผู้เขียนได้ไปงาน FOCAL 2014 ที่จัดขึ้นโดย Group M เมื่อไม่กี่วันก่อน ที่ทาง Group M และ mInteraction ได้ออกมาเผยเทรนด์การทำการตลาดที่น่าจับตามอง และต้องทำตามเพื่อให้ทันเกม
สำหรับนักการตลาดและนักกลยุทธ์คำว่า Phygital Marketing นั้น อาจเป็นที่คุ้นเคย และหลายๆ ท่านอาจเคยสร้างแคมเปญในลักษณะดังกล่าวกันมาบ้างแล้วอย่างแน่นอน แต่สำหรับผู้เขียนนั้น คำว่า Phygital นั้นยังเป็นสิ่งใหมที่เคยได้ยิน แต่ยังก็ยังไม่คุ้นเคยจึงลองหาข้อมูลเพิ่มเติมและนำมาแบ่งปันเพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักกับการตลาดแบบ Phygital Marketing กันมากขึ้น
The Idealist ได้ให้ความหมายของคำว่า Phygital Marketing ว่าเป็นการรวมกันระหว่างคำว่า Physical และ Digital เข้าด้วยกัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงแนวการทำงานของ Phygital Marketing ว่าเป็นผสานกันระหว่างโลกดิจิทัลและโลกแห่งความเป็นจริงเข้าด้วยกัน แทนการเข้าถึงเนื้อหาของนักการตลาดบนเว็บไซต์ต่างๆ ผู้บริโภคจะสามารถทำกิจกรรมร่วมกับเนื้อหาที่นักการตลาดต้องการสื่อสารได้ในชีวิตจริง
และเนื่องจากการสื่อสารทางการตลาดที่มีความเป็นมนุษย์, การเปิดให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วม และ การปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความสนใจของบุคคลนั้นๆ หรือแบบ Personalized กำลังเป็นที่นิยม ทำให้การวางกลยุทธ์ของแบรนด์ต่างๆ จำเป็นต้องสอดแทรกคุณลักษณะทั้งสามนี้เข้าไป อีกทั้งสื่อส่วนมากในปัจจุบันมีความเริ่มเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคส่วนมีปฏิสัมพันธ์ตอบโต้มากขึ้น ทำให้ผู้คนส่วนมากคาดหวังว่าสื่อต่างๆ จะมีเนื้อหาที่ทำให้พวกเขาสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ได้เช่นกัน โดยการตลาดแบบ Phygital Marketing นั้นได้ถือหลัก “หากคุณมีเนื้อหาที่ดี พวกเขาจะมาเอง”
เครื่องมือในการทำการตลาดแบบ Phygital Marketing ที่เห็นภาพได้ง่าย และเห็นได้บ่อยก็คือการใช้งาน QR Code ที่จะนำผู้ใช้ไปสู่เนื้อหาต่างๆ ที่นักการตลาดต้องการสื่อสาร โดย QR Code เปรียบทางผ่านไปยังเนื้อหาต่างๆ ที่ผู้บรอโภคให้ความสนใจอยู่เป็นทุนเดิม ทำให้นักการตลาดสามารถสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อีกทั้งการใช้ QR Code นั้นสามารถใช้ได้กับแคมเปญที่หลากหลาย และสามารถเสนอเนื้อหาต่างๆ ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการนำผู้บริโภคไปสู่ตัวอย่างภาพยนตร์, เนื้อหาแบบเอ็กซ์คลูซีฟ, ข้อเสนอหรือส่วนลดพิเศษ ซึ่งจากข้อมูลที่เิผดเผยเมื่อปี 2012 พบว่า 1 ใน 3 ของประชากรที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปีเคยแสกน QR Code จากนิตยสาร, โปสเตอร์ ,รายการโทรทัศน์ และจากบรรจุภัณฑ์ต่างๆ มาแล้ว
แม้คอนเซปต์การตลาดแบบ Phygital นั้นจะมีมานานแล้ว แต่การทำการตลาดแบบ Phygital Marketing นั้นถือว่ายังอยู่ในช่วงลองผิดลองถูก แต่ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีความทันสมัยมากขึ้น อย่างเช่น สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต, Google Glass และ Wearable technology อื่นๆ การตลาดลักษณะดังกล่าวนั้นจะต้องเติบโตขึ้นตามไปด้วยอย่างแน่นอน
ข้อดีของการทำการตลาดแบบ Phygital Marketing นั้นมีอยู่หลายข้อด้วยกัน คือ
1. เป็นการเปิดให้ผู้บริโภคมีปฏิสัมพันธ์ หรือร่วมกิจกรรมกับแบรนด์ต่างๆ ได้มากขึ้น
2. ความสดใหม่ ความแปลกใหม่
3. การเสริมความแรงของเนื้อหาต่างๆ บนสื่อดิจิทัลด้วยการจับต้องได้ในชีวิตจริง
4. เป็นการยื่นข้อเสนอให้ผู้บริโภคมากกว่าการนำเสนอ
5. เป็นการสร้างความเชื่อใจระหว่างแบรนด์ และผู้บริโภคได้ดีอีกด้วย
ข้อเสียของการทำการตลาดแบบ Phygital Marketing นั้นคือ
1. การคาดเดาความสำเร็จจากการทำการตลาดลักษณะดังกล่าวยังเป็นเรื่องค่อนข้างยาก
2. ใช้งบประมาณสูง
3. ในบางครั้งอาจต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้รับสาร มากจนเกินไป
4. ยังไม่มีแนวทางการทำการตลาดด้วยวิธีดังกล่าวที่เป็นหลักสูตแน่นอนตายตัว
ฉะนั้นหากนักการตลาดท่านใดต้องการทำการตลาดแบบ Phygital Marketing ควรศึกษาข้อดีข้อเสีย และความเป็นไปได้ อีกทั้งรายจ่ายกับพฤติกรรมผู้บริโภคให้ถี่ถ้วนเสียก่อนนะคะ
ที่มา : The Idealist
ภาพ : Geranun, The Drum, Qrazystuff