ภาพลักษณ์ในหน้าเว็บไซต์ออนไลน์ของแบรนด์นั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะในแบรนด์เนมที่มีชื่อระดับโลก เพราะเปรียบเสมือนหน้าตา, ตัวตนและคุณภาพของแบรนด์ ที่นำไปสู่การตั้งราคานั่นเอง แต่กลับเจอหน้าเว็บไซต์ของหลายแบรนด์ๆ ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานซึ่งมีผลต่อผู้ที่เข้ามาโดยตรงเรามาดูกันว่าปัญหาที่เจอกันมาของแต่ละแบรนด์นั้นมีอะไรบ้าง เพื่อที่จะเอาไว้กลับไปตรวจสอบดูกับเว็บไซต์ของตัวเองว่ามีปัญหาเดียวกันหรือไม่
- ดูลึกลับ ดูเหมือนว่าปัญหาทางด้านการใช้งาน จะเป็นปัญหาหลักของเว็บไซต์จาก Dom Perignon เนื่องจากใช้เวลาเป็นชั่วโมงในการโหลด แถมการนำทางไปยังหน้าต่างๆ ยังดูยากและลึกลับ
- ใช้เวลาโหลดนาน เว็บไซต์จาก Givenchy ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างนอกจาก Dom Perignon ที่ใช้เวลาในการโหลดข้อมูลในเว็บฯนาน และดูเหมือนว่าแบรนด์ยังล้มเหลวในการจัดการว่าผู้คนที่เข้ามาเว็บฯของตนต้องการที่จะซื้ออะไร หากคุณต้องการช็อปสินค้าออนไลน์ ให้คลิกที่ลิงก์ ‘E-Store’ แต่คุณอาจจะหมดกำลังใจที่จะซื้อเสียก่อน
- อุปสรรคในการเข้าสู่เว็บไซต์ เพื่อจะเข้าเว็บฯของ Henessy ก่อนอื่นต้องเลือกประเทศที่คุณอยู่เสียก่อน (จะดีกว่าหากทำให้เป็นอัตโนมัติ) หลังจากนั้นทำการใส่วันเกิดของคุณ เพื่อแน่ใจว่าอายุเกินกว่าที่จะดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งส่วนใหญ่คนมักจะเลือกตอบแบบผ่านไปทีอยู่แล้วในคำถามเหล่านี้ ซึ่งเว็บฯเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ส่วนมากมักจะแจ้งคำเตือนก่อน แล้วให้ผู้ใช้เลือก ‘enter’ เพียงขั้นตอนเดียวในการเข้าสู่เว็บฯ
- ซ่อนส่วน e-commerce ให้หาเอง แบรนด์หรูเหล่านี้ก็มีการขายสินค้าออนไลน์เช่นเดียวกัน แต่ดูเป็นเรื่องที่ยากสำหรับลูกค้าของ Dolce & Gabbana ในการหา ‘online store’ จากตัวอักษรสีเทาหม่นบนพื้นหลังสีดำ
- ประสบการณ์ผู้ใช้ที่ไม่น่าจดจำ เป็นที่น่าเวียนหัวอย่างมากสำหรับการเข้าเว็บฯของ Chanel เพราะคุณจะควบคุมเคอร์เซอร์บนหน้าจอได้ยากมาก และถ้าเผลอวางเมาส์บนวิดีโออย่างไม่ตั้งใจ คุณจะตกใจกับเสียงเพลงได้อย่างทันที
- ยังพยายามไม่พอ Manolo Blahnik อาจจะไม่เห็นความสำคัญในการทำเว็บไซต์ออนไลน์เอาเสียเลย เพราะดูไม่มีอะไรเลย
- ขึ้นเสียงเพลงอัตโนมัติ หากคุณกำลังฟังเพลงอยู่ มันจะรบกวนคุณอย่างแน่นอน สำหรับเว็บไซต์จาก YSL นี้ เพราะการมีเพลงออกมาอัตโนมัติจากหน้าเว็บฯ เป็นสิ่งล่วงล้ำและไม่จำเป็น ทั้งนี้ก็ต้องขอบคุณ Google Chrome ที่มีสัญลักษณ์แจ้งว่าหน้าเพจไหนที่ขึ้นเพลงอยู่ เพื่อทำการปิดหน้านั้นไป
- ไม่สามารถซื้ออะไรได้เลย การเชื่อมโยงกับสินค้า จะสามารถสร้างความคาดหวังให้กับแบรนด์ว่าลูกค้าจะทำการซื้อสินค้านั้นได้ แต่เมื่อกลับมามองที่ Chanel พวกเขาอาจไม่สนใจว่าลูกค้าออนไลน์ที่ทำการค้นหาสินค้านั้นมีอยู่ทั่วโลก
- ใช้คำศัพท์แปลก แม้ว่าการใช้คำว่า ‘purchase’ (แทนที่จะเป็น ‘add to basket’) อาจจะเหมาะสำหรับ Hermes มากกว่า แต่ก็เป็นการสะท้อนส่วนอื่นๆของเว็บฯ ว่าจะมีการใช้ศัพท์อะไรแปลกๆ อีก
- โทนสีและความยากในการอ่าน จุดนี้เป็นสิ่งที่การออกแบบมีความสำคัญเหนือกว่าหน้าที่การทำงาน จะเห็นได้ว่าช่องใส่คำค้นหาจาก D&G นั้นเกือบจะมองไม่เห็น
- ขาดการใช้ SEO ที่ดี อีกตัวอย่างจาก Dolce & Gabbana แสดงถึงความไม่สนใจของผู้จัดทำเว็บฯ ในการสร้าง SEO ที่ดี เพื่อที่จะแสดงผลการค้นหาโดยตรงไปยังเว็บฯของพวกเขา
ที่มา : Econsultancy