Site icon Thumbsup

อิทธิพล Youtuber ที่แบรนด์ต้องระวัง

 

 

ตอนนี้โซเชียลในเมืองไทยเรียกว่ามี Influencer เยอะติดอันดับท็อปๆ เลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะสายเที่ยว สายเมคอัพ สายกิน เรียกว่าเยอะจนล้นตลาดกันแล้ว เมื่อพูดถึงฝั่งแบรนด์ก็ถือว่ามีตัวเลือกที่หลากหลายให้เลือก และต่อให้มีตัวเลือกเยอะแค่ไหน ก็ไม่ได้หมายความว่า จะมีตัวเลือกที่ดีขึ้นเสมอไป เห็นได้จากเคสหลุดๆ และกลายเป็นดราม่าของเหล่า Influencer ต่างๆ กับแบรนด์ 

ถึงแม้จะไม่ได้เป็นข่าวใหญ่ แต่ข่าววงในสำหรับสายงานนี้ถือว่าไปไวมาก ซึ่งสายที่โดนดราม่าบ่อยที่สุดคงจะเป็น Youtuber เพราะใช้การสื่อสารผ่านคำพูดเป็นหลัก วันนี้เราเลยอยากบอกถึงอิทธิพลของ Youtuber ให้แบรนด์ได้ตระหนัก และเลือกใช้งานกันอย่างระวัง

 

สร้าง Awareness ได้สูง

แน่นอนว่าตอนนี้การใช้ Youtuber จะทำให้ awareness ของแบรนด์สูงลิบลิ่ว ไม่ว่าจะลงในแพลตฟอร์ม Youtube เอง ที่ส่วนใหญ่ ยอดวิวจะสูงในทิศทางเดียวกัน ต่างจาก Facebook ที่มักกด reach เพจอยู่บ่อยๆ

ทำให้ยอด Organic ของเพจไม่ได้สัมพันธ์กับยอดติดตามมากขนาดนั้น หากนักการตลาดจะโปรโมทโพสต์ลงเพจไหนควรจะขอ stat หลังบ้านมาดูก่อนคร่าวๆ

ขั้นแรกที่ต้องเริ่มวิเคราะห์คือ ยอดรับชม Organic หรือไม่ อย่างที่เคยบอกไว้ก่อนหน้านี้ว่าเพจหรือ Subscribed หลักล้าน แต่ Reach หรือ View หลักพันหลักหมื่นมีเยอะแยะ ยิ่งยอดติดตามเพจเยอะๆ เงินในการจ่ายคุณก็จะยิ่งสูง หรือถ้าอยากคิดว่าคุ้มแก่การลงทุนมั้ย ลองเอาจำนวนเงินทั้งหมดหาร Reach ดูกันนะคะ จะได้รู้ว่า 1 Reach ราคากี่บาท

ขณะเดียวกัน ก็ต้องทำความรู้จัก Youtuber เช่นเดียวกันค่ะ ดูค่าเฉลี่ยของยอดวิวทั้งหมด หรือลองดูยอดวิวคร่าวๆ ของช่องก่อน บางครั้งเราหลงไปกับคลิปที่ยอดวิวสูงๆ เพียงคลิปเดียว ซึ่งไม่ได้หมายความว่าคลิปที่เราให้ Youtuber โปรโมทจะยอดวิวสูงตามไปด้วย

เสียงจากลูกค้าสำคัญกว่าแบรนด์พูดเอง

ข้อดีสำคัญที่ทำให้ Youtuber เติบโตอย่างรุนแรงคือมาจาก Insight ของผู้บริโภคว่าที่จะเชื่อคนอื่นมากกว่าแบรนด์ ทำให้เสียงคนอื่นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นี่ล่ะค่ะทำให้แบรนด์ต้องยิ่งระวัง

Youtuber ไม่ได้รับสินค้าโปรโมททุกคลิปเสมอไป ทำให้รีวิวแบบไม่มี Sponsor ยังมีอีกหลายคลิป หากเป็นเราดูข้อมูลจาก Youtuber และบอกว่าสินค้านั้นไม่ดี เราจะไม่ซื้อตามเลย ต่างจากการบอกว่าดี เราก็ยังชั่งใจว่าดีจริงหรือเปล่า ซึ่งเหตุการณ์นี้จะเกิดได้บ่อยจากสายบิวตี้ เพราะมีสินค้าให้เปรียบเทียบกันเยอะ

ซึ่งคลิปสไตล์แบบนี้ทำให้เรามองเห็นภาพว่า Youtuber คนไหน พูดจริงรีวิวสินค้าแบบตรงไปตรงมาจริงๆ ในแง่ของข้อดีคือหากเราลงโฆษณากับเขา จะทำให้ผู้บริโภคคิดว่า Youtuber คนนี้รีวิวจริงๆ เรียลๆ ไม่โกหก ก็เป็นทั้งข้อดีข้อเสีย ที่ทำให้แบรนด์ต้องสอดส่อง Branding ตลอดเวลา ป้องกันความผิดพลาด เพราะคลิปเดียวก็สามารถพังมาหลายแบรนด์แล้ว

 

ทั้งสองประเด็นที่กล่าวไปด้านบนนั้น เป็นทั้งอิทธิพลด้านมืดด้านสว่างที่แบรนด์ทั้งหลายต้องระวัง เป็นอีกหนึ่งทักษะที่ต้องมี หากอยากเป็นนักการตลาดก็คือการต่อรองนี่เอง

แต่ที่อยากให้ระวังคือ Youtuber มีทักษะการพูดที่สามารถโน้มน้าวใจคนได้ง่ายกว่าทักษะด้านอื่นๆ หากแบรนด์เลือกอย่างไม่ระวัง ก็สามารถโดนทำร้าย แต่ถ้าเลือกดีก็จะเป็นการส่งเสริมกันและกันค่ะ