เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ที่ผ่านมา ได้มีการประกาศรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2023 โดยปีนี้ตกเป็นของ
ศาสตราจารย์คลอเดีย โกลดิน (Claudia Goldin) อาจารย์วิชาประวัติศาสตร์การตลาดแรงงาน จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
โดยได้ทำการศึกษาข้อมูลตลาดแรงงานอเมริกันตลอดช่วง 200 ปีย้อนหลังจนเห็นสาเหตุของ ‘ความเหลื่อมล้ำ’ ในตลาดแรงงานที่เกิดขึ้นกับเพศหญิง
ผลงานของคลอเดียเผยถึงความไม่เท่าเทียมทางเพศทางด้านการว่าจ้างและค่าแรงของสตรี ซึ่งส่วนใหญ่เกิดมาจาก การเลือกปฏิบัติทางเพศ โดยผู้หญิงต้องเป็นฝ่ายตั้งครรภ์และลาคลอด ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
และเมื่อย้อนดูการจ้างงานและรายได้ของแรงงานหญิงในช่วงเวลาปีค.ศ. 1770-1970 ข้อมูลของแรงงานหญิงมักจะไม่ได้รับการบันทึกเอาไว้ หรือบันทึกเอาไว้เป็นเพียง ‘ภรรยา’ เท่านั้น
ในผลการศึกษายังพบความสัมพันธ์ของรายได้ผู้หญิงในตลาดแรงงานของสหรัฐอเมริกาในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา เป็นกราฟรูปตัว U
โดยอธิบายว่า ในช่วงศตวรรษที่ 18 ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วเกินครึ่งได้ออกไปทำงานนอกบ้าน เช่น งานสิ่งทอ แต่ช่วงหลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม แรงงานของผู้หญิงลดลงเหลือเพียง 5% และเมื่อเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ศตวรรษที่ 20 ผู้หญิงก็เริ่มกลับเข้าสู่ภาคแรงงานอีกครั้ง
กราฟรูปตัว U กำลังกลับหัวขึ้น โดยมีปัจจัยจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โอกาสเข้าถึงการศึกษาสูงขึ้น ความต้องการแรงงานในตลาดที่เพิ่มขึ้น และการเข้าถึงยาคุมกำเนิด ซึ่งมีส่วนช่วยในการวางแผนครอบครัวและให้สิทธิ์ผู้หญิงได้กำหนดชีวิตตัวเอง
ที่มา
https://www.nobelprize.org/prizes/economic-sciences/2023/