จบลงอย่างงดงามสำหรับชั้นเรียนแรกของ Disrupt University โครงการโรงเรียนบ่มเพาะผู้ประกอบการ Tech Startup ในเมืองไทย ที่สร้างขึ้นโดยคนดังในแวดวง startup “กระทิง พูนผล” thumbsup ในฐานะ Official Media Partner ก็ได้เข้าไปสังเกตการณ์ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 14 กรกฏาคมจนถึงคืนวันนี้ ประสบการณ์โดยรวมต้องเรียกว่านี่คืออีกหนึ่งมิติใหม่ของวงการธุรกิจดิจิตอลในบ้านเรา วันนี้เรามีสรุปคร่าวๆ เกี่ยวกับโครงการนี้มาให้คุณครับ
โครงการ Disrupt University ของ “กระทิง” นั้นเป็นโปรแกรมเรียนรู้ทางด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมจาก Silicon Valley มาสู่คนไทยที่สนใจจะสร้างผลิตภัณฑ์และบริษัท Startup ที่มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงและปฎิวัติอุตสาหกรรมทั้งอุตสาหกรรม ในงานนี้ผู้ก่อตั้งสอนด้วยตัวเองเป็นส่วนใหญ่ สลับกับการทำ Workshop พูดคุยเรื่องกรณีศึกษากับบริษัท startup ในไทยและต่างประเทศ และสอนอย่างเร่งรัดผ่านประสบการณ์จริงทั้งหมด 4 สัปดาห์ ในแต่ละสัปดาห์ แบ่งเนื้อหาโดยรวมดังนี้ (เราจะไม่ใส่รายละเอียดในแต่ละชั้นเรียนเนื่องจากมีคนสรุปไว้ดีแล้ว ดูจากบล็อกของ @Ojazzy ด้านท้ายในแต่ละสัปดาห์ได้เลย)
สัปดาห์ที่ 1. จุดประกายไฟฝันของชาว startup ไทย (ดูสรุปเนื้อหาในวันที่ 1 โดย @Ojazzy)
สัปดาห์ที่ 2. เริ่มลงรายละเอียดและแนะนำแนวคิดในการทำ Startup Business + กรณีศึกษา (ดูสรุปเนื้อหาในวันที่ 2 โดย @Ojazzy)
สัปดาห์ที่ 3. เชิญผู้ฝึกสอนที่มีชื่อเสียงจาก Silicon Valley มาสอนเรื่อง User Experience + Workshop (ดูสรุปเนื้อหาในวันที่ 3 โดย @Ojazzy)
สัปดาห์ที่ 4. สรุปรวมแนวทางการทำงาน + กรณีศึกษา + Workshop
สำหรับเนื้อหาโดยรวมนั้น ทีมงาน thumbsup ได้เข้าไปนั่งติดตามไปนั่งเรียนด้วยที่ Empire Tower ณ สำนักงานของ Samsung Electronics ตลอดการเรียน ทำให้ทราบว่าการที่คนๆ หนึ่งจะสร้างนวัตกรรมบนผลิตภัณฑ์ในฐานะบริษัท tech startup สักแห่งนั้นไม่ได้ยากเกินกว่าที่เราจะคิดเลยแม้แต่น้อย หากแต่คนไทยยังไม่รู้จะเริ่มต้นไปทางไหน ซึ่ง Disrupt University ได้นำความรู้ความเข้าใจในเรื่องแนวคิดในการสร้างบริษัท startup มาให้กับคนไทย และแสดงให้เห็นว่ามันช่างแตกต่างกับการตั้งบริษัททั่วๆ ไปอย่างหน้ามือหลังมือ
อย่างแรก เราจะต้องมีความเข้าใจในภาพรวมว่า Startup ไม่ได้ทำงานแบบเดี่ยวๆ แต่มันจะต้องรวมไปถึงความรู้ความเข้าใจในการทำงานร่วมกับองคาพยพทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การทำงานแบบ Lean startup ว่าจะสร้างผลิตภัณฑ์ด้วยกรอบความคิดแบบใดถึงจะออกมาได้ดีและมีประสิทธิภาพ ทำอย่างไรถึงจะได้รับการสนับสนุนด้านทุนทรัพย์ที่จะต้องทำงานกับ Venture Capital (VC), Angel investor ทำอย่างไรถึงจะแน่ใจได้ว่าทำผลิตภัณฑ์ออกมาแล้วโดนใจผู้ใช้ จะสำรวจหรือทำวิจัยอย่างไร และอีกล้านแปดคำถามที่เล่ากันไม่หมด ดูภาพบรรยากาศกันก่อนดีกว่า
สำหรับบรรยากาศในการเรียนการสอนก็เป็นไปอย่างสนุกสนาน ดูกันเอาเองครับ ด้านบนคุณมดจาก Invent ก็มาแจม คุณ Kid จาก MCFIVA และ AIS the Startup ก็มา
ด้านนี้คุณปี่จากแสนสิริก็มาร่วมเรียนด้วย
ขณะกำลังทำ Workshop กันอย่างสนุกสนาน
ภาพนี้คือ “กระทิง” หลังจากไม่ได้นอนมาทั้งคืนเพราะเตรียมการสอนอย่างหนักหน่วง แต่ก็ยิ้มไปสอนไป
?
ซี ฉัตรปวีณ์ ก็แวะมาสัมภาษณ์
Janice Fraser แห่ง Adaptive Path เข้าสอน (ภาพเครดิตโดย @Ojazzy)
ในการสอนครั้งนี้ มีหลายสิ่งหลายอย่างที่น่าสนใจ ซึ่งลงรายละเอียดแล้วก็จะมีเรื่อง อัตราการใช้งานจริงของผู้ใช้, ทีม, ตัวผลิตภัณฑ์, หลักฐานทางสังคม เช่น ได้รับการสนับสนุนจากผู้มีชื่อเสียง, ลักษณะของตลาด, เป้าหมายสูงสุดของผลิตภัณฑ์, รูปแบบการนำเสนอ เช่นการ pitch งาน เรียกได้ว่าลงรายละเอียดแทบทุกรูปขุมขนของการทำ startup กันเลยทีเดียว แถมยังมีแขกรับเชิญอย่าง Sam Goldman ผู้ก่อตั้งบริษัท “d.light” หนึ่งใน Forbes Impact 30 Lists หรือสุดยอดผู้ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกนี้ซึ่งจัดโดยนิตยสาร Forbes และ World Economic Forum Young Global Leader ด้วย
สำหรับภาพรวมแล้วผมแอบดูในใบประเมินผล ต้องบอกว่างานนี้ กระทิงและทีมงานได้ใจ startup ไทยไปเต็มๆ โดยส่วนใหญ่บอกว่าชื่นชอบเนื้อหาและความพยายามที่กระทิงพยายามนำเสนอในแบบ ที่คนทำงานด้านนี้มาแล้วจริงๆ นำมาสอนจริง ทำให้นักเรียนทุกคนที่เข้าเรียนสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง อย่างวันนี้ทีมงาน thumbsup นั่งสังเกตการณ์ดู ก็มีนักเรียนเอากระดาษรูปภาพ? 2 ชิ้น ซึ่งเป็นรูปภาพของ User Interface บนผลิตภัณฑ์แอพพลิเคชั่นบนมือถือมาให้เราดู ระหว่างภาพ 1 กับภาพ 2 ว่าอันไหนดีกว่ากัน อันไหนใช้งานง่ายกว่ากัน ผมถามว่ารู้จักทำวิจัยดีนะ ไอเดียดีนี่ เอามาจากไหน นักเรียนในห้องบอกว่านี่คือหนึ่งในเครื่องมือในการทำงานที่เรียนเมื่อ สัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นได้ว่า สิ่งที่เรียนกันไปกว่าเดือนนั้นสามารถนำมาปรับใช้ได้จริง
เราขอจบบทความสรุปนี้ด้วยความรู้สึกของนักเรียนหลายๆ คนในชั้นเรียน และวิดีโอของทาง Disrupt University ครับ
Vithaya Matracha รู้สึกว่าน่าจะมีนานแล้วครับ ถ้าจะให้ดีอยากผลักดันเป็นหลักสูตรนึงในการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยเลย ก็ดีครับ เพื่อปลูกฝังและสร้าง dna ให้พวกน้องๆ ทั้งยังมีประโยชน์ไม่ใช่เพียงแต่งานพัฒนา app นะครับ งานคุมลูกน้องในโรงงาน ผมคงจะลองเอามาปรับใช้ดูเหมือนกัน 🙂
Tanawat Pitchayapryt รู้สึกว่า Disrupt ได้จุดประกายให้คนที่ยังมีแต่ความฝันได้เริ่มทำมันขึ้นมาให้เป็นจริงเสียทีครับ และเป็นการสอนเดินก้าวแรกในการทำบริษัท startup และก้าวต่อๆ ไปอย่างมั่นคงครับ (เหมือนบินไปเรียนที่ Silicon Valley เลย)
Teerasej Pon Jiraphatchandej รู้สึกถึงพลังที่คุกรุ่นของ Startup ไทยที่พร้อมกระโจนไปในเวทีโลกเยอะมาก พี่กระทิงและ speaker ทุกคนสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ที่หาได้ยากยิ่งภายในเวลาแค่ 4 สัปดาห์จริงๆ
Pichayapa MP Chaisuwiratana รู้สึกดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งค่ะ เหมือนเปิดโลกทัศน์ให้เราเห็นมุมมองใหม่ๆ ทั้งจากวิทยากรที่มาบรรยาย จากพี่กระทิง และทุกคนที่มาร่วมคลาส มุมมองที่บางทีเราอาจจะมองข้ามมันไปหรือคิดว่ามันถูกต้องแล้ว 🙂
Wicharn Manawanitjarern Worth every satang of my 35,000 Baht krub. The content, networking, window of opportunity with VC & Angel… Great stepping stone for Thailand startup eco-system krub!
Ojazzy Wearcase เนื้อหาเข้มข้นมากๆ ได้เจอเพื่อนๆพี่ๆร่วมคลาสที่เก่งๆ มากมาย พี่กระทิงและวิทยากรรับเชิญสุดยอด โดยรวมแล้วประทับใจสุดๆ ครับ
Yord Lertsak ผมรู้สึกว่ามีประโยขน์ มากน่ะครับ ต้องขอบคุณ Dean Bull ของเรา ทำให้มาตรฐานการทำงานของเรา ดีขึ้นครับ โดยเฉพาะการเรียน แบบ มี Exercise ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากการลงมือทำ คนสอนก็มาจาก ระดับ World Class จึงเป็นการเรียนรู้การทำงาน แบบ World Class ไปในตัว ทำให้งานที่ได้ เข้าระดับ Sillicon Valley ได้ด้วยครับ
Chonchayong Trairatkeyoon รู้สึกเข้าถึง Motto ของ Disrupt University ที่บอกว่า Bringing Silicon Valley to Thailand จริงๆ เพราะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของพี่กระทิงและ guest speaker จาก valley โดยตรง และยังทำให้รู้สึกถึง passion ที่มากมายของเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ Startup ที่เรียนด้วยกัน
Note Chalermyuth Drive & Inspiration ครับ
Adisak Pu Sukul Feel like “The New Era for Thai’s Start-up Has Begun”
Varakan Ten Tipprapa ผมเพิ่งทำ office ออกแบบ interior design ของตัวเองครับ องค์ความรู้ที่ได้จาก Disrupt University นี้สามารถนำมาใช้ไม่แค่เพียงทำ startup company แต่ยังรวมถึงการเรียนรู้ลูกค้าที่เราเรียกว่านายจ้างว่าพวกเขามองอะไร สำหรับผม ไม่มีพื้นฐานทางการบริหารองค์กรเลย ก็ได้เรียน shot cut จากที่นี้เเหละครับ..