จากการเปิดตัวสินค้าและบริการต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของ Facebook Messenger ที่กลายเป็นช่องทางให้แบรนด์ได้ปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า หรือการถ่ายรูปที่ Big Ben ผ่าน Virtual Selfie Stick ที่พอจะเรียกเสียงฮือฮาได้บ้าง แต่สิ่งที่ทำให้งานนี้น่าสนใจไม่แพ้กัน คือ บทพูดที่น่าประทับใจของ Mark Zuckerberg
ตัว Mark เองได้โพสต์ลงใน Facebook ส่วนตัวว่า การพูดครั้งนี้สำคัญกับเขามาก และใช้เวลาในการเรียบเรียงอยู่นาน…ซึ่งมันแตกต่างจากการบรรยายที่เคยทำมา
เหนือกว่าการเชียร์แบบธรรมดา
เวลาที่แบรนด์แถลงข่าวในลักษณะนี้ มักจะมีช่วงเชียร์บริษัทและสินค้าของตัวเอง และเพื่อไม่ให้กระอักกระอ่วน จะมีการแทรกมุขตลกเล็กๆ น้อยๆ ระหว่างบรรยาย เช่น งานของ Google เมื่อปี 2012 Sergey Brin ได้ขัดจังหวะการบรรยาย ด้วยวิดีโอที่มีนักกระโดดร่มสวมแว่น Google อยู่ เป็นต้น
วิธีการเล่าเรื่องของ Mark เริ่มจากแสดงให้เห็นวิสัยทัศน์ว่า Facebook และเทคโนโลยีกำลังจะเปลี่ยนแปลงไปทิศทางใดในอีกสิบปี และตรงนี้เองที่เขาได้เล่าถึงพันธกิจของ Facebook ว่า
Facebook เท่ากับการเชื่อมโยงของคนทุกคน สำหรับชุมชนทั่วโลก เพื่อจะนำทุกคนมาเจอกัน เพื่อมอบเสียงให้กับผู้คน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและวัฒนธรรมข้ามเชื้อชาติอย่างอิสระ และความคิดในการเชื่อมโยงโลกเข้าด้วยกันได้เข้มข้นมากขึ้นผ่านศตวรรษที่แล้ว แต่ละประเทศเปิดการค้าและร่วมมือกันง่ายขึ้น และอินเตอร์เน็ตได้เข้ามาช่วยให้คนสามารถแชร์ไอเดียและข้อมูลต่างๆ ได้มากกว่าแต่ก่อน เราได้จากโลกที่สื่อสารอย่างโดดเดี่ยว สู่การสื่อสารเป็นหนึ่งเดียวทั่วโลก และเราทุกคนล้วนดีขึ้นจากสิ่งเหล่านี้
หลังจากนั้น เขาได้แสดงความกังวลต่อพลังอำนาจที่เข้ามากีดกันว่า
ผมได้ยินเสียงที่น่ากลัว เรียกร้องให้สร้างกำแพง และสร้างระยะห่างกับคนที่พวกเขาตีหน้าว่าเป็นคนอื่น เพื่อกีดกันอิสรภาพในการแสดงออก เพื่อทำให้การย้ายถิ่นฐานช้าลง เพื่อลดการค้าขาย และบางประเทศถึงขนาดปิดกั้นการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
Mark พูดต่อได้อย่างมีประเด็นว่า
มันต้องใช้ความกล้าหาญที่จะเลือกความหวังมากกว่าความกลัว เพื่อที่จะบอกว่าเราสามารถสร้างบางอย่าง และทำให้มันดีขึ้นกว่าแต่ก่อนได้ เราจำเป็นต้องมองโลกในแง่ดีว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ ในขณะเดียวกัน จะมีคนมองว่าคุณเป็นคนไร้เดียงสา แต่ก็นั่นแหละ ความหวัง และการมองโลกในแง่ดีเหล่านี้ คือเบื้องหลังในทุกๆ ก้าวของความสำเร็จที่เคลื่อนไปข้างหน้า
ถ้าแค่ Silicon Valley มีระบบความเชื่อเดียวกัน ก็จบแล้ว
เทคโนโลยีกับความก้าวหน้า
ในด้านมุมมองต่อเรื่องนี้ เรามักจะได้ยินคำพูดทำนองว่า “ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการขยายการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศไปสู่คนทั่วไปมากขึ้น จนมันกลายเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์โลก ซึ่งนำไปสู่อิสรภาพและการเข้าใจที่มากขึ้น” อยู่เสมอ ทั้งจากเหล่าคนทำงานฝั่งเทคโนโลยี ผู้บริหาร และนักลงทุน
ในขณะที่รัฐบาลมักจะสร้างภาพว่าตนไม่ได้เข้ามาแทรกแซงระบบ แต่ทำงานหากินกับระบบค่าเช่าในเศรษฐกิจมากกว่าจะพัฒนาอะไรใหม่ๆ คำปราศรัยของ Mark Zuckerberg ที่พูดถึงสังคมและสร้างระบบความเชื่อ จึงทำให้เขาประสบความสำเร็จในฐานะตัวแทนจาก Silicon Valley
เมื่อเปรียบเทียบกับผู้นำคนอื่นๆ ?
Larry Page และ Sergey Brin จาก Google ก็ไม่ค่อยได้พูดในสาธารณะเหมือนแต่ก่อน ในขณะที่ Sundar Pichai ซึ่งเป็น CEO คนใหม่ ดูเหมือนจะเป็นวิศวกร มากกว่านักปรัชญา
Tim Cook จาก Apple แม้จะเคยทำได้ดีในการพูดต่อหน้าสาธารณชนเรื่องการต่อต้านการเลือกปฏิบัติ แต่ตัวเขาเองยังขาดความหนุ่มแบบที่ Mark มี และยังขาดสเน่ห์แบบ Steve Jobs
Jeff Bezos จาก Amazon แม้จะเขียนจดหมายถึงผู้ถือหุ้นทุกปี แต่ปรัชญาของเขาจะเป็นไปในเชิงธุรกิจ มากกว่าจะพูดถึงสังคมในภาพใหญ่
นอกจากนี้ VC อื่นๆ แม้จะประสบความสำเร็จ แต่ยังไม่ได้รับความนิยมทั่วโลกเท่ากับเจ้าของบริการที่สามารถเข้าถึงผู้ใช้กว่า 1 พันล้านรายทุกเดือน
ตัว Mark เองเคยพูดทำนองนี้ตั้งแต่ปี 2012 กับเหล่านักลงทุน ช่วงที่เปิด IPO ว่า เป้าหมายของ Facebook คือเพื่อหวังว่าจะเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างคนกับรัฐบาล รวมไปถึงระบบในสังคม และยังเสริมอีกว่า Facebook ไม่ใช่บริษัทที่ตั้งเป้าในการเพิ่มกำไรทุกไตรมาส แต่บริษัทหาเงินเพื่อนำไปพัฒนาบริการให้ดีขึ้น
“we don’t build services to make money; we make money to build better services.”
แม้บางคนอาจจะไม่อยากยอมรับว่า Mark Zuckerberg ขึ้นแท่นผู้นำในยุคนี้ แต่จากการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงบริการอยู่เรื่อยๆ ทำให้เราต้องยอมรับว่าเมื่อนึกถึงบริษัท VC ที่ประสบความสำเร็จ ชื่อของ Facebook จะถูกพูดถึงเป็นชื่อแรกๆ เสมอ
This speech was personally important to me and I spent a lot of time writing it. Even if it’s unusual for a CEO to…
Posted by Mark Zuckerberg on Tuesday, April 12, 2016
ที่มา : businessinsider